วันเสาร์ที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2556

ลัญจกร手印กับความเชื่อผิด ๆ


ภาพบน^^หนังสือของลัทธิอนุตตรธรรมเรื่อง ไตรรัตน์ หน้า 44
เป็นการแสดง"ลัญจกร" ตามความเชื่อของลัทธิ


ภาพบน^^ลัญจกรหรือท่ามือทั้ง 3 ยุคตามที่ลัทธิอนุตตรธรรมได้กล่าวอ้าง
หมายเหตุ : ภาพนี้เป็นเพียงภาพประกอบเรื่องบุคคลในภาพไม่มีความเกี่ยวข้องกับลัทธิอนุตตรธรรม




ไตรรัตน์ - ลัญจกร ของ "一貫 (外) 道"

ลัญจกร หรือ 手印 เป็นตราท่ามือ เชิงสัญลักษณ์ ซึ่งปรากฏมีอยู่ในพระพุทธศาสนามหายานมานานแล้ว และใช้แทนปริศนาธรรม ในแต่ละนิ้ว แต่ละข้อนิ้ว มือซ้ายมือขวา ล้วนมีความหมายเกี่ยวกับเรื่องบารมี-ขันธ์ ฯลฯ ไว้ให้ขบคิด รวมถึงเกิดมีขึ้นในศาสนาเต๋าในจีนมานานแล้วเช่นกัน  ซึ่งในส่วนของที่ลัทธินี้เมื่อนำมาใช้ยกประกอบความเป็นไตรรัตน์ จะเป็นอย่างไรกรุณาดูภาพบนประกอบ

"ยุคสีเขียว"

มี "พระพุทธเจ้าทีปังกร" ครองยุค
ท่ามือ : ยุคนี้เขาสอนว่า ให้ยกมือซ้ายขึ้นข้างเดียว (หลวงจีนไหว้มือเดียว)
เปรียบดุจใบบัวเขียว เป็นยุคแรกเริ่ม จึงอธิบายสัญลักษณ์ว่า
เป็นยุคผลิบาน "เวลาแห่งความรุ่งเรืองของพุทธจิต"

จุดญาณทวาร : อยู่กลางหน้า จุดตัดระหว่างตา (จุดหักดั้งจมูก)

สัจจคาถา : 無量壽佛

"ยุคสีแดง"
มีพระพุทธเจ้าศากยมุนี (พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน บรมศาสดาของพระพุทธศาสนา ใน "โลกปัจจุบันนี้") ครองยุค
ท่ามือ : ยกมือขึ้นพนมไว้ สองข้างประกบ เปรียบประดุจดอกบัว "สีแดง" ที่กำลังจะแย้มบาน เขาเปรียบว่า เป็นยุค "ความเบ่งบานของพุทธจิต"

จุดญาณทวาร : จุดตัดดั้งจมูก (ที่เดิม)

คาถา : 南無阿彌陀佛

"ยุคสีขาว"
มีพระศรีอาริยเมตไตรย์ ครองยุค
(บางที่เปลี่ยนเป็นว่าแบ่งภาคมา บางที่ก็ยังคงสอนว่าลงมาเกิดครอง "ยุคสุดท้าย" ของโลกนี้แล้ว
แต่ทั้งสองอย่าง "เป็นไปไม่ได้" ที่พระโพธิสัตว์จะทรงลงมาเป็นหลักเป็นศรี และเป็นกำลังเพื่อ "การทำลายพระธรรมของพระศากยมุนีพุทธเจ้า" ที่ยัง "คงดำรงอยู่")

ท่ามือ : เริ่มด้วย นิ้วหัวแม่มือมือขวา จรดโคนนิ้วนาง นิ้งหัวแม่มือซ้าย จรดโคนนิ้วก้อยขวา โดยคว่ำมือซ้ายทับมือขวา (ดูรูปประกอบ)

จุดญาณทวาร : จุดเดียว จุดเดิม

คาถา : 無太佛彌勒






สิ่งสุดยอด "一贯外道" (๑)


ลัญจกร ยุคเขียว

อธิบาย : เรื่องจุุดและคาถา ได้อธิบายไว้แล้ว จะกล่าวถึงท่ามือ ซึ่งเขาก็คิดขึ้นมาอย่างสร้างสรรค์ดูมีเหตุผลดีแต่เรื่องยกมือไหว้ข้างเดียว ปัจจุบันก็ยังมีในพระสงฆ์จีน และพระสงฆ์ฝ่ายมหายานที่เนื่องกับทางจีนโดยมาก (โดยเฉพาะที่ห่มจีวรอย่างพระจีน) ก็จะใช้ท่านี้สำหรับรับไหว้ฆราวาส 

และอาจจะใช้มือซ้ายข้างเดียวไหว้ เมื่อมือขวาถืออะไรอยู่ เช่น บาตร ไม้ขักขระ (อย่างเช่นตัวอย่างในรูป) หรือนับลูกประคำมือ ฯลฯ จึงมีมือซ้ายตั้งไหว้ไว้ โดยมุ่งหมายเป็นครึ่งพนมมือ เป็นเครื่องแสดงความเคารพ และไม่ใช่ท่าแสดงถึงใบบัวอย่างไรแน่นอน

และสาเหตุสำคัญที่ทำไมพระจีนใช้มือซ้ายตั้งไหว้ไว้ ไม่ไหว้ข้างเดียวด้วยมือขวา ก็เพราะจีวรของพระสงฆ์จีนจะใช้ห่วงคล้อง (จีวรพาดทับไหล่ข้างซ้ายเปิดไหล่ขวาเป็นธรรมเนียมห่มจีวรพระภิกษุ) แล้วพับส่วนเหลือที่ฝั่งซ้ายมือ พาดไว้บนช่วงปลายแขนซ้าย หากไม่ประคองไว้จะหล่นรุ่มร่าม จึงเป็นที่มาของพระจีนที่ไหว้ข้างเดียวต้องใช้มือซ้าย
(อาจมีไหว้มือขวาข้างเดียวก็ได้ ถ้าไม่ถืออะไรเอาไว้ แต่ข้างซ้ายก็ต้องประคองชายจีวรไว้อยู่ดี)

และโดยเฉพาะใบบัวในธรรมชาตินั้น ไม่มีตั้งเด่ตะแคงขึ้นมา มีแต่แผ่บานขนานผิวน้ำไป ดังนั้น ลัญจกรท่านี้ ไม่มีอะไร นอกจากจินตนาการเลอเลิศ ที่ยกท่ามาใช้รับกับความหมายของยุคได้







สิ่งสุดยอด "一贯外道" (๒)


ลัญจกร ยุคแดง

อธิบาย : เรื่องจุดและคาถาก็อธิบายไว้แล้ว จะกล่าวถึงท่ามือที่ว่าเปรียบรูปดอกบัวนั้น "ถูก" ซึ่งคติการพนมมือไหว้ ตามความเป็นจริง มีมาก่อนพระพุทธเจ้าศากยมุนีด้วยซ้ำ

เพราะเป็นท่าแสดงความเคารพที่มีในอินเดียโบราณ ที่เรียกว่า "ประคองอัญชุลี" เขาก็เปรียบกับดอกบัวที่มาจากใจ ที่จะน้อมให้กับผู้ที่เคารพ เป็นเครื่องหมายสัญลักษณ์แทนสิ่งที่บูชาด้วย "กายและใจ" (สัญลักษณ์แสดงออกภายนอก)

ทั้งนี้เป็นท่าแสดงความเคารพที่อาจผสมกับท่าทางหรือการกระทำอื่นๆ เช่น การลดผ้าที่ห่มบ่าขวาลง (พระสงฆ์ครองผ้าแบบนี้ในอารามเพราะแสดงความเคารพในพระอาราม) การเปิดบ่าขวาก็เป็นการแสดงความเคารพที่ใช้กันอีกอย่างหนึ่ง

และนั่งสนทนากันเฉพาะหน้าผู้ที่ให้ความเคารพอย่างสูง ผู้น้อยก็จะคุกเข่าขวาลง เพื่อแสดงความคารวะ รวมถึงเวลาเดินทักษิณาวัตร (เวียนรอบตามเข็มนาฬิกาอย่างเวียนเทียน) ก็อาจจะประคองอัญชลีไปด้วย ฯลฯ

ซึ่งล้วนเป็นไปตามการแสดงออกด้วยความเคารพและเป็นสิ่งที่มีมาก่อนยุคพระพุทธเจ้าแล้ว โดยชาวอินเดียตั้งแต่ก่อนยุคพระพุทธศาสนา (พราหมณ์สมัยโบราณ) ก็รู้จักและก็แสดงความเคารพกันอย่างนี้กับสิ่งที่ตนให้ความเคารพเป็นอย่างสูง

จากความมีอยู่แต่เดิมมาก่อนพระพุทธศาสนาอย่างนี้ และเป็นของที่เกิดมาแต่วัฒนธรรมที่เป็นของอินเดียโบราณสำหรับใช้แสดงความคารวะ ที่ไม่่ใช่ท่าแทรกสัญลักษณ์พาไปนิพพานแต่อย่างใด

ดังนั้น ท่ามือนี้ ก็เป็นสิ่งที่ลัทธิ ยกมาผสมรองรับแนวเรื่องดอกบัว ใน "ยุคแดง" (บัวแดง) ซึ่งก็เป็นจินตนาการสร้างสรรค์เพื่อลัทธิ ...อีกแล้ว






สิ่งสุดยอด "一贯外道" (๓)


ลัญจกร ยุคขาว

อธิบาย : เหตุที่ต้องใช้นิ้วหัวแม่มือซ้าย และขวา กดลงที่โคนนิ้วก้อยขวา และโคนนิ้วนางขวาตามลำดับ เขาสอนว่า เป็นการชี้จุด ๒ จุด คือ จุด 子 (จื่อ) กับ 亥 (ไห้) อันเป็นยามแรก และยามสุดท้าย ตามแผนผังอัษฐลักษณ์ (ปากัว) แปดทิศ สิบสองยาม (เป็นส่วนของเต๋า และเป็นของเกิดในจีนโดยเฉพาะ)

子 (จื่อ) คือ ราศีชวด คือ จุดเริ่มต้น แห่งเวลาตามแผนภูมิปากัว เป็นจุดเริ่มของสรรพสิ่ง
亥 (ไห้) คือ ราศีกุน คือ จุดสิ้นสุด แห่งเวลาตามแผนภูมิเช่นกัน และถือเป็นจุดที่จบของสรรพสิ่ง

ดังนั้น สองจุดนี้ก็จะอธิบายจุดเริ่ม และจุดจบของสรรพสิ่ง และของโลก (โดยไม่ใช่อย่างทางพระพุทธศาสนา) ซึ่งเขานำแผนภูมิปากัว อย่างของศาสนาเต๋ามาใช้ และอธิบายรอบ ซึ่งปากัวนั้น มี ๘ ด้าน กับการโคจร ๘ ก็จะเป็นลำดับ ๘x๘ = ๖๔

จึงเอามาโยงไปว่าเหตุใด บรรพจารย์ทั้งสามยุค ต้องมี ๖๔ รุ่น (ถึงมีเรื่องแย่งชิงทรยศกันเกิดขึ้นมา) และอะไรต่อมิอะไร ทั้งเรื่องภัยพิบัติ วงเวียนเวลาของโลกในสามยุค ที่มาของจุดเริ่มต้นเผ่าพันธุ์มนุษย์ในหกหมื่นปี จุดสิ้นสุดของโลกที่จะมีภัยธรรมชาติ ที่จะจบในจุดสิ้นสุดเวลาตามผัง (เขาถึงเฝ้าคำนวนกันอยู่อย่างนั้น)

และจึงเป็นที่มาว่า ทำไมลัทธิชอบยกเรื่องภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ ภยันตรายใดๆ ที่เกิดในโลกตามที่ต่างๆ มาเพื่อ "ขู่ให้เชื่อ" และเป็นผลสำเร็จแก่คน "กลัวตาย" ตอนโลกโดนล้าง
(ที่เคยคำนวนอะไรกันแล้วก็บอกว่าจะมี ๙-๙ เคราะห์ภัย ที่้เป็นไปตามศิลาจารึกติ๊ต่างที่สนับสนุนชื่อเจ้าลัทธิที่ชื่อ "กงฉัง" หรือที่ว่า ปี ๒๐๐๐ ที่ผ่านมา เป็นจุดสุดท้ายแล้ว โลกจะพินาศ ฯลฯ ตามที่สอนที่อ้างกันมาก่อนแล้ว พอไม่มีอะไรเกิดขึ้น ตอนนี้ก็ปล่อยเรื่องเงียบหายไป คงกำลังจะคำนวนใหม่แล้วเอาพวกเรื่องภัยพิบัติออกมาอ้างอีกเรื่อยๆ)

นอกจากนี้ เขาก็เอามาอธิบายท่ามือโดยโยงเข้าสู่ความเป็นพุทธะ -ภาวะของจิตเดิมแท้ ชึ่งบอกถึงสภาวะนิพพานที่อยู่ในตัว และธรรมทั้งหลายด้วยเช่นกันและสอนว่าใช้ท่านี้เป็นสัญญลักษณ์ใน “การกราบไหว้พุทธะทางศาสนา” ด้วย
(จึงสังเกตง่ายว่าสาวกลัทธิ จะไหว้พระด้วยมือแบบหงิกๆ งอๆ คู้มือ คู้หลัง ก้มๆ เงยๆ แตกต่างไปจากชาวพุทธที่กราบไหว้พระอย่างปกติทั่วๆ ไป)

ซึ่งเขาถือว่า ท่ามืออย่างนี้บ่งบอกสภาวะของพุทธะ การกราบไหว้โดยท่านี้ เป็นวิธีแฝงที่จะให้เราน้อมจิตกลับมาที่ญาณทวาร ซึ่งเป็นศุนย์รวมระหว่างกายและจิต (เขาเอาญาณทวารมาแนบมือ เอามือแนบญาณทวาร “จิตก็รู้” และ "ก็ปรุงแต่งรู้" ไปอย่างนั้น)

และมีคำอธิบายว่า จุดที่กดลงไปสองจุดนั้น คือ สภาวะหยินหยาง ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด ซึ่งปรากฏคำในสัจจคาถา คือคำว่า ไท่ (太) หมายถึง ไท่เก๊ก (太極) ที่ใช้เรียกหยินหยางนั่นเอง
(ทางพุทธไม่มีคำนี้แน่นอน เขาเอาคำเต๋ามาผสมใส่ลงไปแล้ว คงจะสื่อถึง ทวิลักษณ์-ทวิภาวะ-สังขตธรรม ซึ่งก็มีนัยเดียวกัน แต่ไม่ใช่ “นิพพาน” อย่างพระพุทธเจ้าสอนแน่นอน)

การรวบมือเข้าหากัน คือ “การรวมให้เป็นหนึ่ง” นั้นหมายถึงว่า “จุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดคือ เป็นจุดหนึ่งเดียว” เป็นความแยบยลที่กำลังบอกให้รู้ถึงภาวะของ “นิพพาน” (ไปไกลแล้ว)

และอย่างนี้เอง เขาจึงอธิบายว่า ลัญจกรนี้เป็นรูปรากบัว ความหมายสุดลึกล้ำ แยบยล และเป็นไปเพื่อ “เก็บเกี่ยวพุทธจิต” (คิดได้เก่งมาก แต่ยังคลาดจาก “อนัตตา” ที่เหนือ “หยินหยาง” อีกไกล นะครับ)



ที่มา
ตีแผ่ความจริงลัทธิธรรมปฏิรูป



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น