วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

ซุน ฮุ่ยหมิง(วิกิพีเดีย)


ซุน ฮุ่ยหมิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซุน ฮุ่ยหมิง (จีน孫慧明) เป็นจู่ซือคนสุดท้ายของลัทธิอนุตตรธรรม

ประวัติ[แก้]

ซุน ฮุ่ยหมิง มีนามเดิมว่า ซุน ซู่เจิน (จีน孫素真) เกิดที่อำเภอซั่น เมืองเหอเจ๋อ 
มณฑลซานตง จักรวรรดิชิง รัชสมัยจักรพรรดิกวังซวี่ เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1895 
ได้เข้าเป็นสมาชิกลัทธิอนุตตรธรรมในสมัยที่ลู่ จงอี เป็นจู่ซือรุ่นที่ 17 ได้รับศาสนนาม
ว่าฮุ่ยหมิง เธอได้พบกับจาง ขุยเซิง ทั้งสองได้ช่วยกันเผยแผ่ลัทธิอนุตตรธรรมจนแพร่
หลาย ขุยเซิงมีภรรยาคนแรกแซ่จู แต่เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1909 เขาจึงสมรสใหม่กับสตรี
แซ่หลิว และรับซู่เจินเป็นภรรยาคนที่สอง (ที่ยังมีชีวิตอยู่) โดยอ้างว่าทำตามพระประสงค์
ของสวรรค์ และยกย่องซู่เจินว่าเป็นพระภาคของพระจันทรปัญญาโพธิสัตว์ 
(จีน月慧菩薩)

เมื่ออาจารย์ลู่ถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1925 ก็เกิดความแตกแยกขึ้นภายในลัทธิเพราะศิษย์
อาวุโสแต่ละคนต่างตั้งตนเป็นใหญ่เป็นอิสระต่อกัน ต่อมาลู่ จงเจี๋ย น้องสาวของอาจารย์ลู่
อ้างว่าพระแม่องค์ธรรมได้มาประทับทรงประทานอาณัติสวรรค์แต่งตั้งให้ตนเป็นผู้รักษาการ
จู่ซือไป 12 ปี แต่มีเพียงขุยเซิงคนเดียวที่ยอมรับ หลังจากรักษาการได้ 6 ปี ถึงปี 
ค.ศ. 1930 จงเจี๋ยจึงประกาศว่าพระแม่องค์ธรรมให้ขุยเซิงและซู่เจินรับสืบทอดอาณัติสวรรค์
ร่วมกันปกครองสำนักต่อในฐานะจู่ซือรุ่นที่ 18 และโดยขุยเซิงได้นามใหม่ว่ากงฉัง และซู่
เจินได้นามใหม่ว่าจื่อซี่[1] แต่กงฉังยังคงเป็นผู้นำหลักของลัทธิ และสามารถเผยแพร่ลัทธิ
จนแพร่หลายไปทั่วลุ่มแม่น้ำแยงซี

เมื่อกงฉังถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1947 ได้เกิดความแตกแยกขึ้นอีกในสำนักเพราะ 
จาง อิงอวี้ (บุตรชายคนเดียวของกงฉัง) และฮุ่ยหมิงต่างอ้างตนเป็นผู้นำลัทธิสืบต่อ
จากกงฉัง ฮุ่ยหมิงได้เปรียบกว่าเพราะได้รับแต่งตั้งเป็นจู่ซือคู่กับกงฉังมาตั้งแต่แรก 
เธอยังอ้างว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ได้ประกาศผ่านร่างทรง (ซันไฉ) รับรองความชอบธรรมของเธอ
ให้ปกครองสำนัก นอกจากนี้จื่อซี่ยังอ้างตนเป็นพระภาคหนึ่งของพระแม่องค์ธรรมเอง
ด้วย[2] สาวกลัทธิอนุตตรธรรมส่วนมากจึงสนับสนุนฮุ่ยหมิง ทำให้เธอได้เป็นผู้นำสูงสุด
มานับแต่นั้น

ลัทธิอนุตตรธรรมในสมัยฮุ่ยหมิงถูกทางการปราบปรามอย่างหนัก เธอจึงลี้ภัยไปอยู่ฮ่องกง
ในปี ค.ศ. 1949 อยู่กัวลาลัมเปอร์ช่วงปี ค.ศ. 1951-2 แล้วย้ายกลับไปฮ่องกง สุดท้ายย้าย
ไปอยู่ไต้หวันตั้งแต่ปี ค.ศ. 1954 ขณะนั้นทางการไต้หวันยังถือว่าลัทธิอนุตตรธรรมเป็นลัทธิ
เถื่อน เธอจึงต้องเก็บตัวอยู่ตลอดจนกระทั่งล้มป่วยและเสียชีวิตในเวลาต่อมา

ก่อนเสียชีวิต ฮุ่ยหมิงตั้งใจจะให้ Li Wensi บุตรบุญธรรมของตน ได้สืบตำแหน่งต่อเป็นจู่ซื่อ
รุ่นที่ 19 แต่ Li Wensi ถูกจับติดคุกในปี ค.ศ. 1953 จนตลอดชีวิต ส่วนฮุ่ยหมิงก็ถึงแก่กรรม
เมื่อวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1975 ทำให้ไม่มีใครได้เป็นจู่ซือต่อ แม้จะมีหลายคนอ้างตนเป็น
จู่ซือรุ่นที่ 19 แต่ก็ไม่ได้รับการยอมรับจากสาวกส่วนใหญ่ ซุน ฮุ่ยหมิงจึงเป็นจู่ซือคนสุดท้าย
ของลัทธิอนุตตรธรรม หลังมรณกรรมของเธอได้มีการประกาศว่าพระแม่องค์ธรรมประทาน
อริยฐานะให้เธอเป็นจงหัวเซิ่งหมู่ (จีน中华圣母)[3]

ข้อมูลจาก-ซุนฮุ่ยหมิง

อ้างอิง[แก้]

  1. Jump up ศุภนิมิต, พระพุทธบรรพจารย์เทียนหยาน, กรุงเทพฯ : ส่งเสริมคุณภาพชีวิต, หน้า 31
  2. Jump up Religion and Democracy in Taiwan
  3. Jump up ศุภนิมิต, สายทอง 3, กรุงเทพฯ : ส่งเสริมคุณภาพชีวิต, 62-4

ลู่ จงอี(วิกิพีเดีย)



ลู่ จงอี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ลัทธิอนุตตรธรรมเชื่อว่าพระศรีอริยเมตไตรยแบ่งภาคมาเกิดเป็น ลู่ จงอี (จีน路中一) เพื่อสืบต่อพงศาธรรม
เป็นจู่ซือรุ่นที่ 17 ในประเทศจีนและเป็นจู่ซือองค์แรกในธรรมกาลยุคขาว

ประวัติ[แก้]

ลู่ จงอีเกิดที่เมืองจี้หนิง มณฑลซานตง เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1849 ครอบครัวมีฐานะยากจน 
กำพร้าบิดามารดาตั้งแต่ยังเล็ก จึงอยู่อาศัยกับน้องสาวชื่อลู่ จงเจี๋ย เพียงสองคน 
เมื่ออายุได้ 22 ปี จงอีจึงไปสมัครเป็นทหารเพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัว
ในปี ค.ศ. 1895 ขณะอายุได้ 46 ปี จงอีได้รับวิวรณ์จากพระแม่องค์ธรรมทางความฝันว่า 
ถึงเวลาที่ท่านต้องเริ่มพันธกิจโปรดสัตว์แล้ว ให้ไปขอรับถ่ายทอดเต๋าจากอาจารย์
หลิว ชิงซฺวี (ศิษย์ของหวัง เจฺว๋อี ผู้ก่อตั้งลัทธิอนุตตรธรรม) ซึ่งเป็นจู่ซือของลัทธิอนุตตรธรรม
อยู่ในขณะนั้น จงอีจึงตัดสินใจลาออกจากราชการ ไปตามหาอาจารย์หลิว ชิงซวี โดยมีเงิน
ที่เก็บสะสมไว้ติดตัวอยู่ 100 ตำลึง เมื่อได้พบอาจารย์หลิว จงอีก็ได้รับเต๋า โดยเสียเงินทั้ง
100 ตำลึงที่มีอยู่เป็นค่าธรรมเนียม

หลังจากรับเต๋าแล้ว จงอีก็ทำงานเป็นคนงานตักน้ำผ่าฟื้นในสำนักของอาจารย์หลิวนั้น 
ต่อมาพระแม่องค์ธรรมก็ประทับทรงในกระบะทราย บอกให้อาจารย์หลิวมอบตำแหน่งจู่ซือ
ให้กับพระศรีอริยเมตไตรยคือลู่ จงอี อาจารย์หลิวจึงประกาศแก่บรรดาศิษย์ว่าตนเองชรา
มากแล้ว ศิษย์ที่ได้รับอาณัติสวรรค์แล้วให้แยกย้ายกันไปฝึกปฏิบัติและเผยแพร่เต๋ากันเอง
ต่อไป ส่วนลู่ จงอี ได้สืบทอดตำแหน่งจู่ซือต่อจากอาจารย์หลิวในปี ค.ศ. 1905 ต่อมา 
ลู่ จงอีได้รับแนะนำจากพระแม่องค์ธรรมซึ่งมาประทับทรงในกระบะทรายว่าให้กลับไปตำ
หนักกวนอิม

ลู่ จงอี นึกถึงลู่ จงเจี๋ย น้องสาว จึงกลับไปหาน้องสาวที่เมืองจี้หนิง แล้วเล่าถึงเหตุการณ์ที่
ตนเองได้รับเต๋า น้องสาวของจงอีเกิดความศรัทธา จึงร่วมกับพี่ชายเผยแพร่เต๋าต่อไปจน
แพร่หลาย มีผู้ติดตามเป็นสาวกมากมายหลายพันคน รวมทั้งจาง เทียนหรัน และ
ซุน ฮุ่ยหมิง ซึ่งมาเข้าสำนักในปี ค.ศ. 1918

ลู่ จงอี ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1925 สิริอายุได้ 76 ปี

หลังมรณกรรม[แก้]

หลังจากลู่ จงอี ถึงแก่มรณกรรมแล้ว พระแม่องค์ธรรมได้ประทับทรงในกระบะทราย ประกาศ
ว่า ลู่ จงอี ได้รับอริยฐานะเป็น “จินกงจู่ซือ” (จีน金公祖师) และหลังจากมรณกรรมได้
100 วัน อาจารย์ลู่ได้เข้าสิงร่างบุรุษชาวมณฑลซานซีชื่อหยาง ชุนหลิง ซึ่งไม่เคยรู้จักลัทธิ
อนุตตรธรรมมาก่อน นายหยางเดินทางมาที่สถานธรรมที่เมืองจี้หนัน มณฑลซานตง และ
ถ่ายทอดโอวาท 2 ครั้ง คือคัมภีร์ “จินกงเมี่ยวเตี่ยน” และคัมภีร์ “หมีเล่อเจินจิง” ทั้งสอง
คัมภีร์ถือเป็นคัมภีร์ศักดิ์สิทธิ์ประจำลัทธิอนุตตรธรรม

ขอบคุณข้อมูลจาก - ลู่ จงอี

อ้างอิง[แก้]

  • ปฐมธรรมาจารย์แห่งธรรมกาลยุคขาว, ศุภนิมิต แปลและเรียบเรียง, กรุงทพฯ : ส่งเสริมคุณภาพชีวิต, ม.ป.ป.,
  • สายทอง 3, ศุภนิมิต แปลและเรียบเรียง, กรุงทพฯ : ส่งเสริมคุณภาพชีวิต, ม.ป.ป.,