วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การเข้าทรงขัดแย้งกับคำสอนคริสต์ศาสนา



การเข้าทรงในลัทธิอนุตตรธรรม
ขัดแย้งกับคำสอนในคริสต์ศาสนา

โอวาทและคำสอนของลัทธิอนุตรธรรมส่วนใหญ่มาจากการเข้าทรง
ขอให้มาพิจารณาว่าองค์พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสผ่านผู้เผยพระวจนะเกี่ยวกับการเข้าทรงอย่างไร 

"อย่าไปหาคนทรงหรือพ่อมดแม่มดอย่าเที่ยวค้นหาให้ตนมลทินไป
เพราะเขาเลยเราคือพระเยโฮวาห์พระเจ้าของเจ้า.." เลวีนิติ 19:31 

"ผู้ใดใฝ่หาคนทรงผีหรือพ่อมดแม่มดเล่นชู้กับเขา
เราจะหมายหน้าผู้นั้นและอเปหิเขาเสียจากชนชาติของตน.." เลวีนิติ 20:6 

"ชายหรือหญิงคนใดที่เป็นคนทรงหรือพ่อมดแม่มด
จงฆ่าเสียจงเอาหินขว้างที่เขาต้องตายนั้นเขาเองรับผิดชอบ.." เลวีนิติ 20:27

พระเจ้าได้สั่งห้าม การพยายามติดต่อกับวิญญาณผู้ตาย มาหลายศตวรรษแล้ว พระประสงค์ที่ เด็ดขาดของพระองค์ ต่อต้านการติดต่อสื่อสารกับวิญญาณเหล่านี้

ตั้งแต่ ซาตาน ถูกเหวี่ยงลงมา พร้อมกับเหล่าทูตสวรรค์ ที่กลายเป็นมาร พวกมันพยายามหลอกลวงมนุษย์เสมอมา เพื่อทำให้มนุษย์กับพระเจ้าห่างกันมากขึ้น และในที่สุด เหล่าซาตานก็ได้ ไสยศาสตร์ เป็นอาวุธที่มีประสิทธิภาพสูง

"แต่ถ้ามีม่านบังข่าวประเสริฐของเราไว้จากใคร ก็จากคนเหล่านั้น ที่กำลังจะพินาศ  ส่วนคนที่ไม่เชื่อนั้น พระของยุคนี้ ได้กระทำใจของเขาให้มืดไป เพื่อไม่ให้เขา ได้เห็นความสว่างของข่าวประเสริฐ เรื่องพระสิริ ของพระคริสต์ ผู้เป็นพระฉายของพระเจ้า" 2 โครินธ์ 4:3-4

"การกระทำเช่นนั้นไม่แปลกประหลาดเลย ถึงซาตานเอง ก็ยังปลอมตัวเป็นทูตแห่งความสว่างได้" 2 โครินธ์ 11:14

"ด้วยว่าจะมีพระคริสต์เทียมเท็จ และผู้ทำนายเทียมเท็จหลายคนเกิดขึ้น 
ทำหมายสำคัญอันใหญ่ และการมหัศจรรย์ ล่อลวง แม้ผู้ที่พระเจ้า ทรงเลือกสรรให้หลง ถ้าเป็นได้ 
ดูเถิด เราได้กล่าว เตือนท่านทั้งหลายไว้ก่อนแล้ว" มัทธิว 24:24-25

ซาตานจะแสดงหลักต่างๆ ในใจที่มีอานุภาพ เพื่อทำให้มนุษย์ที่ได้ประกาศความรอดให้คนอื่น ออกห่างจากคำสอน ของพระเยซู หรือ แม้กระทั่งใช้คนที่อ้างว่า ทำการอัศจรรย์ได้ในนามพระเยซู แต่ให้ระลึกไว้เสมอว่า สิ่งเหล่านั้นขัดกับ น้ำพระทัยพระเจ้า

"มิใช่ทุกคนที่เรียกเราว่า 'พระองค์เจ้าข้า พระองค์เจ้าข้า' จะได้เข้าในแผ่นดินสวรรค์ แต่ผู้ที่ปฏิบัติตามพระทัย พระบิดาของเรา ผู้ทรงสถิตในสวรรค์จึงจะเข้าได้ เมื่อถึงวันนั้น จะมีคนเป็นอันมาก ร้องแก่เราว่า 'พระองค์เจ้าข้า พระองค์เจ้าข้า ข้าพระองค์ ... ได้กระทำ การมหัศจรรย์เป็นอันมาก ในพระนามของพระองค์ มิใช่หรือ' เมื่อนั้นเราจะได้กล่าวแก่เขาว่า 'เราไม่เคยรู้จักเจ้าเลย เจ้าผู้กระทำความชั่ว จงไปเสียให้พ้นหน้าเรา'" มัทธิว 7:21-23

ที่มาhttp://www.oknation.net/blog/trueofvithi/2008/08/04/entry-2


เพราะฉะนั้นในคำสอนของคริสต์ศาสนา การเข้าทรง นั่นถือว่า
เป็นเรื่องของพวกพ่อมดแม่มด และเป็นทางแห่งซาตาน

ข้อขัดแย้งคำสอนลัทธิอนุตรธรรม กับ คำสอนที่มาจากพระเจ้า



ข้อขัดแย้งคำสอนลัทธิอนุตรธรรม กับ คำสอนที่มาจากพระเจ้า 



เรื่องความรอด

คำสอนลัทธิอนุตรธรรม
          ลัทธิอนุตรธรรมสอนว่า จิตวิญญาณเท่านั้นที่มาจาก "พระองค์ธรรมมารดา" ร่างกายเป็นเพียงที่พำนักชั่วคราว การได้รับถ่ายทอด "วิถีอนุตตรธรรม"ทำให้เราได้รับสิ่งวิเศษ 3 อย่างคือ
1. มโนทวาร
2. สัจจคาถา
3. ลัญจกร
         การขอรับวิถีธรรม จะนำพาตัวเองขึ้นไปสู่ความเป็นนิรันดร์ สรุปก็คือ มนุษย์ทุกคนเมื่อตายไปต้องเวียนวายตายเกิดไม่รู้จบ เมื่อใดที่มนุษย์ได้รับธรรมะ ก็จะได้หลุดพ้นจากการเวียนวายตายเกิดไปสู่นิพพาน (ซึ่งขัดกับคำสอนของพระพุทธองค์)

คำสอนที่มาจากพระเจ้า
"เพราะว่าทุกคนทำบาป และเสื่อมจากพระสิริของพระเจ้า" โรม 3:23

"เหตุฉะนั้น เช่นเดียวกับที่บาป ได้เข้ามาในโลก เพราะคนๆ เดียว และความตาย
ก็เกิดมาเพราะบาปนั้น และความตาย ก็ได้แผ่ไปถึง มวลมนุษย์ทุกคน เพราะมนุษย์ทุกคนทำบาป" โรม 5:12

"เพราะว่าค่าจ้างของความบาปคือความตาย" โรม 6:23     
          พระเจ้าทรงจัดแผนการที่แน่นอน โดยเฉพาะสำหรับความรอดของคนบาป! พระเจ้าทรงรักเราแต่ละคน และมี พระประสงค์ ที่จะช่วยเราให้รอด เป็นพระประสงค์ ที่แท้จริงของพระเจ้า ที่จะให้เราเป็นบุตรของพระองค์ เพื่อให้กลับไปสู่ สภาพก่อนที่ มนุษย์ตกลงสู่บาป แต่ความยุติธรรม อันบริบูรณ์ ของพระเจ้านั้น กำหนดว่า คนบาปที่ล่วงละเมิด พระบัญญัติ ของพระเจ้า จะต้องตาย "เพราะว่าค่าจ้างของความบาป คือความตาย"

          พระเยซูทรงรักเรามาก จนพระองค์ ทรงรับที่จะสิ้นพระชนม์แทนเรา ไม่มีผู้ใด บังคับพระเยซู ให้สละชีวิตของพระองค์ พระองค์ทรงกระทำการนี้ ด้วยพระองค์เอง ด้วยเหตุผลง่ายๆ คือ พระองค์ทรงรักเราแต่ละคน นี่คือข่าวดี ของพระกิตติคุณ พระเยซูคริสต์ ทรงประทานตนเอง เพื่อเป็นเครื่องถวายบูชา ให้แก่เราแต่ละคน เพื่อเรา จะรับชีวิตนิรันดร์ได้

          มีทางเดียว ที่จะได้รับการชำระ คือ การเป็นคนชอบธรรม เบื้องพระพักตรพระเจ้า และต่อหน้ามนุษย์ได้นั้น เราจะ ต้องรับพระเยซู เป็นพระผู้ช่วยให้รอดของเราเอง พระโลหิตของพระองค์ที่หลั่งบนกางเขน จะชำระเรา จากบาปของเรา และความชอบธรรมของพระคริสต์ จะเป็นของเรา

"ไม่มีผู้ใดเป็นคนชอบธรรมได้ โดยการประพฤติตามธรรมบัญญัติ
แต่โดยศรัทธาในพระเยซูคริสต์เท่านั้น" กาลาเทีย 2:16

          สาระสำคัญสุดท้ายที่จะต้องเข้าใจคือ เราซื้อหรือแลกเอาความรอดไม่ได้ ไม่มีงานใด ไม่ว่ายิ่งใหญ่สักเพียงใด จะมีส่วนในการช่วยเรา ให้หลุดจากบาปของเรา ความรอด เป็นของประทานของพระเจ้าที่ให้เปล่า และการกระทำเดียว ที่มีส่วน คือ การเสียสละของพระเยซูคริสต์บนกางเขน

"มิใช่ด้วยการกระทำที่ชอบธรรมของเราเอง แต่พระองค์ ทรงพระกรุณา ชำระให้เรามีใจบังเกิดใหม่" ทิตัส 3:5

"ด้วยว่าซึ่งท่านทั้งหลายรอดนั้น ก็รอดโดยพระคุณ เพราะความเชื่อ
และมิใช่โดยตัวท่านทั้งหลายกระทำเอง แต่พระเจ้าทรงประทานให้" เอเฟซัส 2:8-9

          คริสเตียนได้รับหน้าที่ให้ทำการดี ไม่ใช่เพื่อจะได้รับความรอดแต่เพราะเขารอดแล้ว โปรดอ่านประโยคข้างต้นนี้ อีกครั้ง เพราะเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะเข้าใจเรื่องนี้ให้ถูกต้อง เราจะต้องจำไว้ว่า เราซื้อ หรือแลกความรอดด้วย การกระทำดีไม่ได้ การกระทำดีของเรา ทำให้เรา เป็นคนชอบธรรม ในสายพระเนตรพระเจ้า ไม่ได้ ทางเดียว ที่จะนำเรา ไปสู่ความรอด คือ ยอมรับว่า เราช่วยจิตวิญญาณของเราเอง ให้รอดไม่ได้ และยอมรับพระเยซู ให้เป็นพระผู้ช่วย ให้รอด ส่วนตัวของเรา และพระองค์ จะทรงประทานความชอบธรรม ที่บริบูรณ์ ของ พระองค์ให้แก่เรา เพราะพระคัมภีร์ กล่าวไว้ว่า "ไม่มีผู้ใดเป็นคนชอบธรรมสักคนเดียว ไม่มีเลย" โรม 3:10

แผนการที่พระเจ้าทรงจัดเตรียมไว้โดยเฉพาะ เพื่อช่วยเราทุกคนให้รอด คือ

1. ยอมรับว่าตัวเองเป็นคนบาป และทูลขอพระเจ้าให้อภัยบาป
2. สารภาพบาปของตัวเองกับพระเจ้า และพยายามแก้ไขการกระทำผิดให้ถูก เท่าที่จะทำได้
3. ยอมรับด้วยความเชื่อ การให้อภัยของพระเจ้า และทูลเชิญพระเยซู ให้มาเป็นพระผู้ช่วยให้รอด ส่วนตัว

"เพราะว่าพระเจ้า ทรงรักโลก จนได้ทรงประทาน พระบุตรองค์เดียว ของพระองค์ เพื่อทุกคน ที่วางใจ ในพระบุตรนั้น จะไม่พินาศ แต่มีชีวิตนิรันดร์" ยอห์น 3:16

มีทางเดียว ที่จะได้รับมนุษย์เราจะรอดพ้นจากการพิพากษาและได้รับชีวิตนิรันดร์ เราจะต้องรับพระเยซู เป็นพระผู้ช่วยให้รอดของเราเอง พระโลหิตของพระองค์ที่หลั่งบนกางเขน จะชำระเรา จากบาปของเราและเราจะมีสิทธิ์ในสวรรค์ขององค์พระผู้เป็นเจ้าพระเยโฮวาห์   



เรื่อง ที่มาของคำสอน

 คำสอนลัทธิอนุตรธรรม
คำสอนในลัทธิอนุตรธรรมส่วนมากจะได้มาจาก โอวาทของพระแม่องค์ธรรม เทพ โพธิสัตว์ พระอรหันต์ โดยการประทับทรงของร่างทรงหญิงพรหมจรรย์ และร่างทรงไม่เพียงแต่ลงทรงเทพเท่านั้น ยังมีการเชิญวิญญาณ ผี มาร มาเข้าทรงด้วย

คำสอนที่มาจากพระเจ้า
"เพราะว่า พระวจนะของพระเจ้านั้นไม่ตายและทรงพลานุภาพอยู่เสมอ คมยิ่งกว่าดาบสองคมใดๆ แทงทะลุ กระทั่ง จิตและวิญญาณ ตลอดข้อกระดูก และไขในกระดูก และสามารถวินิจฉัย ความคิด และความมุ่งหมายในใจด้วย" ฮีบรู 4:12

"พระคัมภีร์ ทุกตอนได้รับการดลใจจากพระเจ้า และเป็นประโยชน์ในการสอน การตักเตือนว่ากล่าว การปรับปรุงแก้ไขคนให้ดี และการอบรมในทางธรรม" 2 ทิโมธี 3:16

"เพราะว่าคำของผู้เผยพระวจนะนั้น ไม่ได้มาจากความคิดในจิตใจของมนุษย์ แต่มนุษย์ได้กล่าวคำซึ่งมาจากพระเจ้า ตามที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ได้ทรงดลใจเขา" 2 เปโตร 1:21

ในเหตุการณ์ ที่ภูเขาซีนาย ขณะนั้น พระเจ้าทรงใช้เมฆ หนาทึบ ในการปิดบังพระองค์เอง และใช้เสียงฟ้าร้อง ฟ้าแลบ แผ่นดินไหว สะเทือนในการเตือน ชาวอิสราเอล ว่าอย่าบุกรุกขึ้นมาบนภูเขา เพื่อจะไม่ตาย ต่อมา พระเจ้าก็ตรัสมาจาก ยอดเขา ด้วยคำพูดที่น่ากลัว และน่าเกรงขาม เมื่อประชาชนได้ยิน พระสุรเสียงของพระเจ้า ต่างก็ตกใจกลัวจนตัวสั่น และวิงวอนให้โมเสส เป็นตัวแทนพวกเขา ในการขึ้นไปบนภูเขา ฟังพระคำของพระเจ้า แทนพวกเขา แล้วค่อยมาบอก เพราะพวกเขา จะได้ไม่พบกับความตาย เพราะว่า พระคำของพระเจ้านั้น น่ากลัวจริงๆ แต่ต่อมา เมื่อโมเสสขึ้นไปบนภูเขา พระเจ้าก็ประทานพระคำให้แก่เขา และโมเสสก็เขียน 5 เล่ม (เบญบรรณ) ออกมา

พระคัมภีร์เป็นพระวาทะที่มีการแสดงถึงพระสติปัญญาของพระเจ้า พระคำของพระเจ้า ไม่ใช่เพียงแต่เสียง ที่ไม่มี ความหมาย ชนิดหนึ่ง พระคำของพระเจ้า เป็นสติปัญญาของพระเจ้า ที่เผยให้มนุษย์ ในส่วนที่มนุษย์ สามารถเข้าใจได้ พวกเรารู้ดีว่า พระเจ้านั้น ทรงรู้ทุกสิ่ง และไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใด ที่พระเจ้าจะไม่ทราบ เพราะฉะนั้น ข้อความที่บันทึกอยู่ ในพระคัมภีร์นั้น เป็นอำนาจที่สูงที่สุด มีผลต่อชีวิต ความเชื่อ



เรื่อง การกราบไหว้รูปเคารพ


คำสอนลัทธิอนุตตรธรรม
       ในพิธีกรรมของลัทธิอนุตรธรรมจะมีการกราบไหว้รูปเคารพ การถวายอาหารบูชาแก่รูปปั้น ไม่ใช่แค่ในพิธีเท่านั้น สมาชิกของลัทธิอนุตรธรรมทุกคนก็กราบไหว้รูปเคารพต่างๆด้วยเช่นกัน ซึ่งเรื่องนี้ขัดกับคำสอนที่มาจากพระเจ้าที่เที่ยงแท้


คำสอนที่มาจากพระเจ้า
         เจ้าอย่าทำรูปเคารพด้วยเงินไว้สำหรับบูชาเทียมเท่ากับเราหรือทำรูปพระด้วยทองคำสำหรับตัว.. อพยพ 20:23

อย่ากราบไหว้พระของเขาหรือปรนนิบัติหรือทำตามแบบอย่างที่พวกเขากระทำแต่จงทำลายรูปเคารพของเขาและทุบเสาศักดิ์สิทธิ์ของเขาเสียให้แหลกละเอียด.. อพยพ 23:24

อย่าให้ผู้ใดกลับนับถือรูปเคารพหรือหล่อพระไว้เป็นรูปเคารพสำหรับตนเราคือพระเยโฮวาห์พระเจ้าของเจ้า.. เลวีนิติ 19:4

เจ้าทั้งหลายอย่ากระทำรูปเคารพสำหรับตัวหรือตั้งรูปแกะสลักหรือเสาศักดิ์สิทธิ์และเจ้าทั้งหลายอย่าตั้งรูปศิลาแกะสลักไว้ในแผ่นดินของเจ้าเพื่อแก่การกราบไหว้เพราะเราคือพระเยโฮวาห์พระเจ้าของเจ้า.. เลวีนิติ 26:1

จงระวังตัวให้ดีเกรงว่าท่านทั้งหลายจะลืมพันธสัญญาของพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านทั้งหลายซึ่งพระองค์ทรงกระทำไว้แก่ท่านและสร้างรูปเคารพเป็นสัณฐานสิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านทั้งหลายทรงห้ามไว้นั้น.. เฉลยธรรมบัญญัติ 4:23

อย่าทำรูปเคารพสำหรับตนเป็นรูปสิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งมีอยู่ในฟ้าเบื้องบนหรือซึ่งมีอยู่ที่แผ่นดินเบื้องล่างหรือซึ่งมีอยู่ในน้ำใต้แผ่นดิน.. เฉลยธรรมบัญญัติ 5:8

และเขาทั้งหลายปรนนิบัติรูปเคารพซึ่งพระเจ้าได้ตรัสแก่เขาแล้วว่า"เจ้าอย่ากระทำอย่างนี้".. 2 พงศ์กษัตริย์ 17:12

เพราะพระทั้งปวงของชนชาติทั้งหลายเป็นรูปเคารพแต่พระเจ้าทรงสร้างฟ้าสวรรค์.. เพลงสดุดี 96:5

ท่านทั้งหลายอย่านับถือรูปเคารพเหมือนอย่างที่บางคนในพวกเขาได้กระทำตามที่มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่าประชาชนก็นั่งลงกินและดื่มแล้วก็ลุกขึ้นเล่นสนุกสนาน.. 1 โครินธ์ 10:7

ดูก่อนท่านที่รักเหตุฉะนั้นท่านจงหลีกเลี่ยงเสียจากการนับถือรูปเคารพ.. 1 โครินธ์ 10:14

ลูกทั้งหลายเอ๋ยจงระวังรักษาตัวอย่าเกี่ยวข้องกับรูปเคารพ.. 1 ยอห์น 5:21


พระคัมภีร์ทั้งพันธสัญญาเดิมและใหม่บอกว่า การกราบไหว้รูป เคารพเป็นสิ่งที่พระเจ้าทรงเกลียดชังมากที่สุด สาเหตุที่คนอิสราเอล ซึ่งได้ออก มาจากประเทศอียิปต์ได้ถูกลงโทษถึงตาย 3พันคนในวันเดียว เพราะกราบไหว้ รูปเคารพ สาเหตุที่กษัตริย์ซาโลมอนล้มเหลวและประเทศได้แยกเปนสอง ประเทศ หรือคนอิสราเอลได้ถูกกวาดไปเป็นเชลยที่บาบิโลน ก็เพราะพวกเขา ได้กราบไหว้รูปเคารพ

อย่านมัสการพระเจ้าด้วยวิธีที่กราบไหว้รูปเคารพ เราพบ คำกิริยา 3 คำในข้อ 4-5 คือ อย่าทำ อย่ากราบไหว และอย่าปรนนิบัติ เลวีนิติ 26.1 ก็กล่าวว่า “เจ้าทั้งหลายอย่ากระทำรูปเคารพสำหรับตัว หรือตั้งรูปแกะ สลัก หรือเสาศักดิ์สิทธิ์ และเจ้าทั้งหลายอย่าตั้งรูปศิลาแกะสลักไว้ ในแผ่นดิน ของเจ้าเพื่อแก่การกราบไหว้ เพราะเราคือพระเยโฮวาห์ พระเจ้าของเจ้า” รูป เหล่านี้ทำอะไรไม่ได้ฉันใด คนที่ทำรูปเหล่านั้นก็เหมือนรูปเหล่านั้น และคนที่ วางใจในรูปเหล่านั้น ก็เช่นเดียวกัน พระเจ้าได้ทรงห้ามเช่นนี้แล้ว แต่คน อิสราเอลได้ทำและปรนนิบัติรูปเคารพมาเรื่อยๆ ในขณะที่โมเสสได้รับบัญญัติ เหล่านี้บนภูเขาซีนายหลายวัน คนอิสราเอลได้ทำรูปโคหนุ่มด้วยทองคำและ กราบไหว้ด้วยการประกาศว่า “โอ อิสราเอล สิ่งเหล่านี้แหละเป็นพระของเจ้า ซึ่งนำเจ้าออกจากแผ่นดินอียิปต์” (อพยพ 32.4) พวกเขาได้เอารูปโคนั้นมา ปรนนิบัติเป็นพระของเขาแทนพระเจ้า พระเจ้าจึงทรงลงโทษให้คน 3 พันคน ตายในวันนั้น

สาเหตุที่พระเจ้าทรงห้ามไม่ให้ทำ กราบไหว้ และปรนนิบัติรูปเคารพนั้น ก็ เพราะว่าพระเจ้าทรงเป็นพระเจ้าที่หวงแหน ความหึงหวงเกิดขึ้นระหว่างคน รักกัน ถ้าไม่รักเขา เขาทำอย่างไร ก็ไม่สนใจ ไม่รู้สึกอะไรเลย การที่พระเจ้า หวงแหน หมายถึงความรักของพระเจ้า ความสัมพันธ์พิเศษของพระเจ้าต่อเรา คือเจ้าบ่าวและเจ้าสาว พระเจ้าของเราไม่ใช่เป็นพระเจ้าที่เรารักพระเจ้าก็ดี ไม่ รักพระเจ้าแต่รักพระอื่นก็ดี พระเจ้าทรงปรารถนาให้เรารักแต่พระเจ้าองค์ เดียวเท่านั้น พระเจ้าตรัสไว้ว่า “เราคือเยโฮวาห์ นั่นเป็นนามของเรา พระสิริ ของเรา เรามิได้ให้แก่ผู้อื่น หรือให้คำที่สรรเสริญเราแก่รูปแกะสลัก”(อสย.42.



วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556

พระเยซูคริสต์เท่านั้น..ลัทธิอนุตตรธรรมไม่จำเป็น


พระเยซูคริสต์เท่านั้น...วิถีอนุตตรธรรมไม่จำเป็น


พระคริสตธรรมคัมภีร์กล่าวไว้ชัดเจน



"พระเยซูตรัสกับ(โธมัส) ว่า "เราเป็นทางนั้น เป็นความจริง และเป็นชีวิต ไม่มีผู้ใดมาถึงพระบิดาได้ นอกจากจะมาทางเรา" " [ยอห์น 14:6]

"ในผู้อื่นความรอดไม่มีเลย ด้วยว่านามอื่น ซึ่งให้เราทั้งหลายรอดได้  ไม่ทรงโปรด ให้มีในท่ามกลางมนุษย์ทั่วใต้ฟ้า" 
[กิจการฯ 4:12]

มีทางเดียวที่จะได้รับการชำระ คือ การเป็นคนชอบธรรม เบื้องพระพักตรพระเจ้า และต่อหน้ามนุษย์ได้นั้น เราจะ ต้องรับพระเยซู เป็นพระผู้ช่วยให้รอดของเราเอง พระโลหิตของพระองค์ที่หลั่งบนกางเขน จะชำระเรา จากบาปของเรา และความชอบธรรมของพระคริสต์จะเป็นของเรา

พระเจ้าต้องการความร่วมมือของเรา เพื่อช่วยเราให้รอด สิ่งเดียวที่ต้องการ คือ มีความเชื่อในพระองค์ และวางใจ ในพระองค์เท่านั้น ความเชื่อคือการมอบถวายความวางใจทั้งหมดของเราไว้ในพระองค์เพื่อความรอดของเรา โดยความเชื่อ เราเชื่อว่า แผนการแห่งความรอดของพระเจ้านั้นเพียงพอที่จะประทานชิวิตนิรันดรให้เรา แต่แล้ว เราจะทำอะไร เพื่อทำให้ ความเชื่อของเราเจริญขึ้น ทำให้เราวางใจพระเจ้ามากยิ่งขึ้น โดยการศึกษาพระคัมภีร์อย่างเอาใจใส่ ด้วยท่าทีที่จริงใจและถ่อมตน ทุกคนเรียนรู้ เรื่องของพระเจ้า ได้มากยิ่งขึ้น และด้วยวิธีนี้ เราจะวางใจ ในพระองค์มากยิ่งขึ้น ความเชื่อของเราในพระเจ้า และในแผนการแห่งความรอด จะพัฒนา มากขึ้นทุกวัน

พระเจ้าทรงประทานความรอดให้เรา ด้วยข้อแม้เพียงข้อเดียวคือ เรามีความปรารถนาอย่างจริงใจ ที่จะได้รับ ความรอด พระองค์ทรงเชิญชวนให้เรา เชื่อพระองค์ และวางใจในแผนการ แห่งการไถ่ให้รอดของพระองค์ สาระสำคัญสุดท้ายที่จะต้องเข้าใจคือ เราซื้อหรือแลกเอาความรอดไม่ได้ ไม่มีงานใด ไม่ว่ายิ่งใหญ่สักเพียงใด จะมีส่วนในการช่วยเรา ให้หลุดจากบาปของเรา ความรอด เป็นของประทานของพระเจ้าที่ให้เปล่า และการกระทำเดียว ที่มีส่วน คือ การเสียสละของพระเยซูคริสต์บนกางเขน

"พระโลหิตของพระเยซูคริสต์ พระบุตรของพระองค์ ก็ชำระเราทั้งหลาย ให้ปราศจากบาปทั้งสิ้น" [1 ยอห์น 1:7]

"เราเป็นคนชอบธรรมแล้ว โดยพระโลหิตของพระองค์" [โรม 5:9]

"คนชอบธรรมจะดำรงชีวิตอยู่ ด้วยความซื่อสัตย์" [ฮาบากุก 2:4]

"วิญญาณจิตของท่านทั้งหลาย จึงได้รับความรอด เป็นผลแห่งความเชื่อ" [1 เปโตร 1:9]

"ผู้ที่วางใจในพระบุตรก็มีชีวิตนิรันดร์ ผู้ที่ไม่เชื่อฟังพระบุตร ก็จะไม่ได้เห็นชีวิต แต่พระพิโรธของพระเจ้า ตกอยู่กับเขา" [ยอห์น 3:36]

" "จงเชื่อและวางใจในพระเยซูเจ้า และท่านจะรอด ได้ทั้งครอบครัวของท่านด้วย" " [กิจการฯ 16:30-31]

"ไม่มีผู้ใดเป็นคนชอบธรรมได้ โดยการประพฤติตามธรรมบัญญัติ 
แต่โดยศรัทธาในพระเยซูคริสต์เท่านั้น" [กาลาเทีย 2:16]

"เพราะว่าค่าจ้างของความบาปคือความตาย แต่ของประทาน จากพระเจ้า คือชีวิตนิรันดร์ ในพระเยซูคริสต์ องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา"[โรม 6:23]

เพราะว่าพระเจ้า ทรงรักโลก จนได้ทรงประทาน พระบุตรองค์เดียว ของพระองค์ เพื่อทุกคน ที่วางใจ ในพระบุตรนั้น จะไม่พินาศ แต่มีชีวิตนิรันดร์  [ยอห์น 3:16]


ที่มา
http://www.oknation.net/blog/trueofvithi/2008/08/07/entry-1

ลัทธิอนุตตรธรรมแอบอ้างไม้กางเขนและพระเยซู



ลัทธิอนุตตรธรรม แอบอ้างไม้กางเขนและพระเยซู 

โดยเรื่องนี้มีการดึงเอา ไม้กางเขน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งคริสต์ศาสนาไปแอบอ้างเพราะต้องการจะโยงไปสู่เรื่อง จุดญานทวารกลางคิ้ว ซึ่งลัทธิอนุตตรธรรมอุปโลกขึ้นมาว่าคือประตูนิพพาน โดยนำไปวาดใหม่ดังนี้


ให้วาดรูปไม้กางเขนและวาดวงกลมครอบลงไปจะได้วงกลมมีสี่แฉกด้านในพอใส่ตาตรงแกนสองข้างจะเป็นหน้าคน ตรงกลางก็คือดั้งจมูกเป๊ะ...

จากนั้นลัทธิจึงอุปโลกเรื่องใหม่ขึ้นว่า ไม้กางเขน นี้เป็นสิ่งที่พระเยซูทำขึ้นมาเพื่อจะบอกถึงจุดญาณทวารกลางคิ้ว ซึ่งในลัทธิอนุตตรธรรมถือว่าเป็นประตูนิพพาน แต่พระเยซูนั้นปกปิดเป็นความลับเพราะเป็นความลับสวรรค์จึงทำรูปไม้กางเขนเพื่อเป็นปริศนาธรรมซึ่งแม้แต่คนในคริสศาสนาก็ไม่ทราบได้นอกจากจะเข้ามาในลัทธิอนุตตรธรรมเท่านั้น 

เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่แอบอ้างเอาไม้กางเขนและพระเยซูมารับรองความมั่วของลัทธิตัวเองเท่านั้น

ขอชี้แจงความมั่วนี้ว่า >> ไม้กางเขน พระเยซูไม่ได้เป็นคนสร้างขึ้นมาและพระเยซูคริสต์ไม่ได้บัญญัติให้แทนจุดกลางคิ้วดังกล่าวแน่นอน แต่เป็นของที่มีอยู่ดาษดื่นในสมัยนั้น ที่เป็นเครื่องทรมาณนักโทษ คนที่คิดจึงเป็นชาวโรมันที่มีอำนาจในตอนนั้น ซึ่งของดังกล่าวเป็นเครื่องประหาร ที่ถูกนำมาใช้ทรมาณพระเยซูนัยว่าเป็นการล้างบาปให้หมู่มนุษย์ ตามความเชื่อชาวคริสต์ในยุคต่อๆ มา ที่จะสร้างไม้กางเขนไว้ก็เพื่อให้ระลึกถึงความรักและการเสียสละของพระศาสดาองค์ดังกล่าว ที่มีให้แก่มนุษย์ทั้งหลาย

ตอนนี้เราลองมาดูกันดีกว่าครับว่าไม้กางเขนคืออะไร  ซึ่งรับรองว่าไม่ไช่อย่างที่ลัทธิอนุตตรธรรมนำไปแอบอ้างแน่นอนครับ

ความหมายที่แท้จริงของกางเขน (The Cross)

เมื่อพระเยซูคริสต์ถูกตัดสินให้ประหารด้วยการตรึงบนไม้กางเขน เขาก็นำพระองค์ไปโบยตีด้วยแส้หนังตามวิธีลงโทษนักโทษประหาร  หลังจากเฆี่ยนแล้วเขาก็นำพระองค์มาล้อเลียน เยาะเย้ย ทั้งเอาหนามมาสานเป็นมงกุฎสวมให้ด้วย  พอวันรุ่งขึ้นเขาก็ให้พระองค์แบกกางเขนอันใหญ่และหนักไปตามถนนทั้งๆ ที่พระองค์บอบช้ำและอดนอนมาตลอดทั้งคืนแล้ว

กางเขนที่พระเยซูแบกไปนั้นเข้าใจกันว่าเป็นกางเขนที่เราเห็นอยู่ในโบสถ์ทั่วๆ ไปซึ่งเรียกกันว่ากางเขนแบบลาติน  กางเขนในสมัยนั้นไม่ได้มีอยู่แบบเดียวเท่านั้น ยังมีกางเขนรูปตัว X เรียกว่ากางเขนของนักบุญอันดรูว์ เพราะเชื่อว่าอัครสาวกอันดรูว์ถูกตรึงด้วยกางเขนชนิดนี้

แบบที่ 3 ก็เป็นรูปตัว T มีชื่อว่ากางเขนแบบเทา (Tau Cross) เป็นกางเขนเก่าแก่ตั้งแต่พระคัมภีร์เดิม ซึ่งโมเสสใช้แบบนี้เพื่อชูงูขึ้น คราวที่เร่ร่อนในถิ่นทุรกันดาร

และแบบที่ 4 ก็คือแบบของกรีกที่เป็นรูปกากบาท + คือแบบสัญลักษณ์ของกาชาดนั่นเอง

นอกจากนี้ ยังมีกางเขนอีก 3 แบบ คือ

1. แบบเยรูซาเล็ม (Jerusalem Cross) ความหมายพระกิตติคุณจะขยายไปสี่มุมโลก และรำลึกถึงบาดแผล ห้าจุดของพระเยซูคริสต์

2. แบบมอดิส (Maltese Cross) เป็นรูปดาว 4 แฉก และมีมุม 8 มุม ซึ่งเล็กถึงพระพรทั้ง 8 ประการของพระเยซู ( มัทธิว 5:3-10 )

3. แบบเคลติค (Celtic Cross) รูปแบบกางเขนที่ได้รับอิทธิพลของชาวไอแลนด์โบราณวงกลมในกางเขนมีความหมายถึงความเป็นนิรันดร์ที่พระเยซูคริสต์ทรงเป็นขึ้นจากความตาย

นอกจากกางเขนสามรูปแบบที่เพิ่มเติม แล้วยังมีอีกหลายรูปแบบ ซึ่งขึ้นอยู่กับนิกาย และศาสนศาตร์/เทวศาสตร์ (Theology) ที่แตกต่างกัน

อย่างไรก็ตามความหมายคงไม่เปลี่ยนแปลง เพราะคือเล็งถึงการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูคริสต์บนไม้กางเขน เพื่อเป็นค่าไถ่มนุษยชาติ หรือบางคนอาจจะกล่าวว่ากางเขนเป็นเครื่องหมายแห่งความรอดแก่บรรดาผู้เชื่อ

การตรึงบนไม้กางเขน เป็นวิธีการทำให้เจ็บปวดรวดร้าว เป็นวิธีการประหารชีวิตซึ่งพวกโรมันใช้ ไม่ใช่เป็นวิธีการของพวกยิว

พวกยิวในสมัยพระคัมภีร์เดิมใช้วิธีประหารชีวิตพวก อาชญากรโดยใช้หินขว้างให้ตาย และเอาศพแขวนไว้บนต้นไม้เป็นเครื่องแสดงว่าคนถูกประหารชีวิตเหล่านั้นอยู่ภายใต้การสาปแช่งของพระเจ้า (ฉธบ. 21:22-23)

พวกยิวในสมัยพระเยซูอยู่ภายใต้การปกครองของโรมไม่มีอำนาจจัดการประหารชีวิต เขาต้องยอมให้ทางโรมทำ อย่างไรก็ตามพวกชาวยิวไม่ขอให้โรมเอาหินขว้างพระเยซูให้ตาย เขาเห็นว่าจับพระองค์ตรึงบนกางเขนให้ตายมันง่ายดีกว่า (มธ. 27:22-23)

พวกยิวถือกันว่ากางเขนของพระเยซูเป็นเสมือนต้นไม้ เพราะพระองค์ถูกแขวนไว้บนท่อนไม้รูปกางเขนนั้น พวกเขาจึงถือว่าพระองค์ตกอยู่ภายใต้การสาปแช่งของพระเจ้า

แท้ที่จริงพระเยซูคริสต์ได้ทรงแบกการสาปแช่งของพระเจ้าไว้กับพระองค์อย่างที่เขาคิด พระองค์กระทำเช่นนั้นไม่ใช่เพราะพระองค์เองกระทำผิด พระองค์เป็นผู้บริสุทธิ์ไม่มีความบาป แต่พระองค์ทรงรับการสาปแช่งแทนคนบาป   เพราะเหตุความเข้าใจผิดเรื่องการสาปแช่งแห่งกางเขนจึงทำให้การตรึงพระเยซูบนไม้กางเขนเป็นหินสะดุดพวกชาวยิว พวกเขาปฏิเสธไม่ยอมเชื่อพระเยซู เพราะฉะนั้นกางเขนจึงเป็นเครื่องกีดกันพวกเขา ไม่ให้รับความรอดจากพระเจ้า

ผู้เขียนพระคริสตธรรมคัมภีร์ใหม่ถือว่าการที่พระเยซูคริสต์ได้ทรงสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนนี้เป็นรากฐานแห่งพันธกิจการช่วยให้รอดของพระเจ้า

ดังนั้นไม้กางเขนจึงกลายเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของความรอด ซึ่งพระเจ้าทรงโปรดให้ผู้เชื่อทุกคนพ้นจากความผิดบาป ข่าวประเสริฐก็คือข่าวเรื่องไม้กางเขนนั่นเอง กางเขนจึงเป็นสัญลักษณ์แห่งความอับอาย และความตายด้วย   พระเยซูคริสต์ได้ทรงชี้แจงด้วยพระองค์เองว่า คนเหล่านั้นที่ต้องการจะเป็นสาวกของพระองค์ ต้องพร้อมที่จะเผชิญกับความอับอาย ความทุกข์ทรมานและความตาย ถ้าหากพวกเขาเป็นสาวกที่แท้จริงของพระองค์

ความเป็นมาของกางเขน
เดิมทีเกิดขึ้นในหมู่ชาวเปอร์เซีย พวกเขามีความเชื่อว่าแผ่นดินนั้นบริสุทธิ์และศักดิ์สิทธิ์ จึงไม่ยอมให้ร่างกายของผู้ทำผิดหรือร่างกายที่ชั่วร้ายนั้นมาเกลือกกลั้ว เมื่อจะประหารก็จัดการตรึงไว้ด้วยตะปูนแขวนห้อยเหนือพื้นดิน เมื่อตายแล้วก็ให้แร้งหรือสุนัขป่ามาฉีกกินจนสิ้นซาก   วิธีการเช่นนี้พวกคาเธจซึ่งอยู่ใกล้อิตาลีหรือโรมจดจำมาใช้และทางโรมันก็นำมาใช้อีกต่อหนึ่ง

แต่การนำกางเขนมาใช้นี้มิได้ใช้กับชาวโรมัน แต่จะใช้กับพวกทาสหรือพวกกบฏที่เป็นชาวต่างชาติ เพราะเขาถือว่าชาวโรมันเป็นผู้ที่อยู่เหนือกว่าคนชาติอื่นๆ จะถูกทำทารุณกรรมอย่างนั้นไม่ได้

ซิเซโร นักปรัชญาเป็นเอกที่มีชื่อเสียงในสมัยก่อนคริสต์ศตวรรษแสดงความเห็นไว้ว่า สำหรับประชาชนชาวโรมันแล้ว "การถูกจับมัดก็เป็นอาชญากรรม ถ้าถูกเฆี่ยนตีก็ยิ่งเลวร้ายไปกว่านั้นอีก คือถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรงอย่างที่สุด แต่ถ้าถูกตรึงบนกางเขนละก็ไม่ทราบว่าจะเปรียบกับอะไรอีกได้"

ด้วยเหตุนี้การประหารด้วยการตรึงบนกางเขนจึงไม่มีในหมู่ชาวโรมัน พระเยซูคริสต์ของเราถูกประหารอย่างทารุณที่สุด ต่ำต้อยที่สุดและน่าอับอายที่สุดที่มนุษย์จะคิดขึ้นได้ในสมัยนั้น

อ้างอิงhttp://www.followhissteps.com/web_christianstories/easter08.html

กางเขนแบบต่างๆ

ชื่อกางเขนคำบรรยายรูป
กางเขนละติน
(Latin cross
crux ordinaria)
เป็นทรงกางเขนที่นิยมมากที่สุดในคริสต์ศาสนา เป็นสัญลักษณ์ของการไถ่บาปให้มนุษย์ของพระเยซู เมื่อมีการตรึงพระเยซูที่กางเขนบนกางเขนแท้(True Cross) และการคืนชีพของพระองค์ ตามที่บรรยายในพันธสัญญาใหม่Christian cross.svg
กางเขนอียิปต์
(Ankh
Egyptian Cross
Key of the Nile
Looped Tau Cross
Ansate Cross)
เป็นกางเขนของอียิปต์โบราณที่เป็นสัญลักษณ์ของชีวิตและการเจริญพันธุ์ (fertility) บางครั้งก็จะได้ชื่อเป็นภาษาลาตินเมื่อปรากฏในบันทึกของคริสเตียนเช่น crux ansata ("กางเขนมือถือ")Ankh.svg
คอปติกแองค์
(Coptic ankh)
คอปติกแองค์เป็นกางเขนอียิปต์ที่มีมาก่อนกางเขนคอปติกของผู้นับถือคริสต์ศาสนาในอียิปต์Koptische Ankh.jpg
กางเขนคอปติกดั้งเดิม
(Original Coptic Cross)
กางเขนคอปติกดั้งเดิมเป็นกางเขนคอปติกที่ใช้โดยคริสต์ศาสนิกชนในอียิปต์Original Coptic cross.svg
กางเขนคอปติก
(Coptic Cross)
เป็นกางเขนที่มีวงแหวนตั้งอยู่ตรงกลางโดยมีรัศมีสี่แฉกเป็นรูปตัว “T” ทแยงออกไปสี่ทิศโดยมีหัวตัวทีอยู่ด้านนอก ที่เป็นสัญลักษณ์ของตาปูที่ใช้ในการตรึงกางเขนพระเยซู กางเขนชนิดได้รับชื่อจากคอปติกออร์ทอดอกซ์ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่อะเล็กซานเดรียในอียิปต์Coptic-Cross.svg
กางเขนคอปติกใหม่
(New Coptic Cross)
กางเขนคอปติกใหม่เป็นกางเขนที่ใช้โดยชาวอียิปต์ผู้นับถือคริสต์ศาสนานิกายคอปติกออร์ทอดอกซ์แห่งอะเล็กซานเดรียที่วิวัฒนาการมาจากกางเขนคอปติกดั้งเดิม A gallery of Coptic Crosses can be found here.Coptic cross.svg
กางเขนสุริยะ
(Sun cross
Sunwheel
solar cross
Odin's cross)
หรือที่เรียกว่า “กางเขนโอดิน” เพราะสัญลักษณ์ของโอดินในตำนานเทพนอร์สเป็นกางเขนในวงกลม เป็นกางเขนที่ใช้กันโดยทั่วไปในวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาที่เป็นสัญลักษณ์ของวงล้อแห่งการเยียวยา (Medicine Wheel) ของชีวิต และเป็นสัญลักษณ์ของขบวนการไญยนิยมSimple crossed circle.svg
กางเขนเคลติก
(High cross
Celtic cross)
กางเขนเคลติกที่ยืนเด่นมักจะพบโดยทั่วไปในไอร์แลนด์และบางแห่งในบริเตนใหญ่ และจะพบบ่อยในสุสานCcross.svg
กางเขนแคนเทอร์เบอรี
(Canterbury cross)
ใช้โดยแองกลิคันเป็นกางเขนสี่แฉกที่มีความยาวเท่ากัน ปลายของแต่ละแฉกจะบานออกไปจากศูนย์กลางคล้ายใบขวานจนด้านนอกเกือบจะจรดกันเป็นวงกลม กลางแฉกแต่ละแฉกจะมีเครื่องหมายเป็นรูปสามเหลี่ยมวงซ้อนสามเหลี่ยม (triquetra) ที่เป็นสัญลักษณ์ของตรีเอกภาพ ใจกลางของกางเขนเป็นสี่เหลี่ยมเล็ก สัญลักษณ์เดิมของแองโกล-แซกซันที่เป็นเข็มกลัดมีอายุมาตั้งแต่ราว ค.ศ. 850 ที่มาขุดพบในปี ค.ศ. 1867 ที่แคนเทอร์เบอรีในอังกฤษCantercross.svg
มหากางเขน
(Crucifix)
เป็นกางเขนที่เป็นสัญลักษณ์ของการตรึงพระเยซูที่กางเขน เป็นกางเขนที่ใช้ในนิกายโรมันคาทอลิก แองกลิคัน และอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ที่เน้นการเสียสละของพระองค์โดยการพลีชีพบนกางเขนSmall crucifix.jpg
กางเขนกรีก
Greek cross
crux immissa quadrata
เป็นกางเขนที่ใช้โดยเฉพาะในอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์และศาสนาคริสต์ยุคแรก ที่แขนแต่ละข้างของกางเขนมีความยาวเท่ากันGreek cross.svg
กางเขนกรีกฟลอเรียน
Florian cross
กางเขนนี้ตั้งชื่อตามนักบุญฟลอเรียนผู้เป็นักบุญองค์อุปถัมภ์ของนักดับเพลิงในโปแลนด์ ออสเตรีย และ เยอรมนี มีลักษณะไกล้เคียงกับกางเขนมอลตาและกางเขนปลายบาน แต่แตกต่างตรงที่ปลายกางเขนจะมีลักษณะโค้งเป็นคลื่น ที่มีด้วยกันสองลักษณะ ๆ แรกมักจะพบในตราสัญลักษณ์(badge) ของผู้บริการดับเพลิง ตราล่างมักจะใช้ในเหรียญที่สร้างฉลองนักบุญฟลอเรียนFlorianCross1.PNG
FlorianCross2.png
กางเขนตะวันออก
(Eastern cross)
เป็นกางเขนที่ใช้โดยอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์และอีสเทิร์นคาทอลิกแห่งไบแซนไทน์ เส้นบนกล่าวว่าเป็นสัญลักษณ์ของหัวเตียง และเส้นล่างเป็นสัญลักษณ์ของที่พักเท้า เส้นทแยงเป็นสัญลักษณ์ของพระเยซูที่ทรงบิดพระวรกายด้วยความเจ็บปวดอย่างรุนแรงจนที่พักพระบาทหลุดเลื่อนจากที่ ที่พักพระบาททแยงขึ้นไปทางซ้าย ที่เป็นทิศทางของโจรผู้กล่าวกับพระองค์ว่า “จำข้าด้วยเมื่อท่านเข้าสู่อาณาจักรของท่าน” ซึ่งถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของคุณธรรมที่ชนะอธรรม ตัวอักษร “IC XC” ตอนปลายของกางเขนขวางสองข้างเป็นอักษรย่อของพระเยซู (Christogram) ที่อักษรย่อจากภาษากรีก “ΙΗΣΟΥΣ ΧΡΙΣΤΟΣ” หรือ “IHCOYC XPICTOC” ซึ่งเป็นพระนามของพระองค์OrthodoxCross.png
กางเขนนักบุญบริจิด
(St. Brigid's Cross)
เป็นกางเขนที่พบทั่วไปในไอร์แลนด์ ที่กล่าวกันว่าเป็นกางเขนที่สร้างโดยบริจิดลูกสาวของกษัตริย์นอกคริสต์ศาสนาจากใบหญ้าเพื่อจะใช้ในการทำพิธีเปลี่ยนศาสนา แต่ชื่อ “Brigid” มาจาก “Brigit” (สะกดอื่นก็ได้แก่ Brìghde, Brìde และ Bríde) เป็นเทพีแห่งไฟ กวีนิพนธ์ และช่างเหล็ก ของเคลติค ในปัจจุบันเป็นกางเขนที่เป็นสัญลักษณ์ในการป้องกันอัคคีภัย กางเขนนี้เป็นตัวอย่างของการผสานระหว่างคริสต์ศาสนากับวัฒนธรรมพื้นบ้านSt Brigid.png
กางเขนคอนสแตนติน
(Chi-Rho
labarum)
เป็นกางเขนที่เป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 ที่มาจากอักษรย่อของพระเยซูในภาษากรีก “Χριστός” (chi = ch และ rho = r) กางเขนที่ใช้อักษรย่อนี้มีด้วยกันหลายแบบSimple Labarum2.svg
กางเขนลอแรน
(Cross of Lorraine)
เป็นกางเขนที่ใช้ในมุทราศาสตร์ที่มีลักษณะเกือบเหมือนกางเขนอัครบิดร แต่แขนกางเขนหนึ่งตั้งอยู่เกือบกลางจุดตัดของกางเขน และอีกแขนหนึ่งอยู่ตอนบน แทนที่ทั้งสองแขนจะตั้งอยู่ด้วยกันตอนบน กางเขนลอร์แรนเป็นเครื่องหมายที่ใช้ในตราอาร์มของแคว้นลอแรนทางตะวันออกของฝรั่งเศส เดิมเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ของโยนออฟอาร์คผู้ต่อต้านการครอบครองของอังกฤษในฝรั่งเศสระหว่างสงครามร้อยปีCroix de Lorraine.png
กางเขนพระแม่มารีย์
(Marian Cross)
เป็นกางเขนที่ใช้ในตราอาร์มของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ที่ประยุกต์มาจากกางเขนคริสเตียนที่เน้นความศรัทธาในองค์พระนางมารีย์พรหมจารีMarian Cross.jpg
กางเขนนอร์ดิก
(Nordic Cross)
ใช้ในธงที่มาจากธงแดนเนอบรอกFlag of Denmark.svg
กางเขนอ็อกซิทาเนีย
(Occitan cross)
เป็นกางเขนที่มาจากตราอาร์มของเคานต์แห่งตูลูซที่กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของอ็อคซิทาเนีย (Occitania) ทั้งหมดCathar cross.svg
กางเขนพระสันตะปาปา
(Papal Cross)
เป็นกางเขนที่มีแขนกางเขนสามแขนขวางแกนกลางที่เป็นสัญลักษณ์ของไตรอำนาจของพระสันตะปาปาในฐานะบิชอปแห่งโรม ประมุขของคริสตจักรตะวันตก และ ผู้สืบการเป็นประมุขของคริสเตียนต่อมาจากนักบุญเปโตรPopesCross.svg
กางเขนอัครบิดร
(Patriarchal cross)
มีลักษณะคล้ายกางเขนคริสเตียนแต่มีแขนกางเขนสั้นเพิ่มอีกหนึ่งแขนเหนือแขนหลักที่เป็นสัญลักษณ์ของอาร์ชบิชอปและอัครบิดรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ บางครั้งก็จะมีแขนกางเขนทแยงบนตอนล่างของแกนตั้ง และมีลักษณะคล้าย กางเขนลอแรน และ กางเขนซาเล็มPatriarchal cross.svg
กางเขนเพรสไบทีเรียน
(Presbyterian Cross)
ใช้โดยนิกายเพรสไบทีเรียนUSVA headstone emb-04.svg
กางเขนกาชาด
(Red Cross)
สภากาชาดใช้กางเขนกาชาดเป็นสัญลักษณ์ของการรักษาพยาบาลเกือบทั่วโลก ยกเว้นประเทศในกลุ่มอิสลามที่ใช้ตรางซึกวงเดือนแดง (Red Crescent) และ ดาราแห่งเดวิด (Star of David) สีแดงในอิสราเอลFlag of the Red Cross.svg
กางเขนแห่งความเสียสละ
(Cross of Sacrifice)
เป็นกางเขนลาตินประดับดาบที่ปลายดาบห้อยลงข้างล่างที่เป็นสัญลักษณ์ของคณะกรรมาธิการอนุสรณ์ทหารผ่านศึกแห่งเครือจักรภพ(Commonwealth War Graves Commission) ที่จะพบในสุสานทหารหลายแห่งA Commonwealth Cross of Sacrifice or War Cross.jpg
กางเขนซาเล็ม
(Cross of Salem)
หรือบางครั้งก็เรียกว่า “กางเขนพระสันตะปาปา” เพราะเป็นกางเขนที่ใช้นำหน้าพระสันตะปาปาที่มีลักษณะคล้ายกางเขนอัครบิดร แต่มีแขนกางเขนเพิ่มอีกหนึ่งแขนใต้แขนหลักที่มีความยาวเท่ากับแขนบนสุด และมีลักษณะคล้ายกางเขนตะวันออกCrossOfSalem.gif
กางเขนจอร์เจีย
(Royal Flag of Georgia)
ใช้ในจอร์เจียเป็นธงประจำชาติ ใช้เป็นครั้งแรกโดยพระมหากษัตริย์จอร์เจีย Vakhtang Gorgasali ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 และต่อมานำมาใช้โดยพระราชินีทามาร์แห่งจอร์เจียในคริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นธงที่มีกางเขนเยรูซาเลมที่เริ่มใช้ในรัชสมัยของจอร์จที่ 5 แห่งจอร์เจียผู้ทรงขับชาวมองโกลออกจากจอร์เจียในปี ค.ศ. 1334
Flag of Georgia.svg
กางเขนเถาองุ่น
(Grapevine cross
St. Nino's Cross)
กางเขนเถาองุ่นตามธรรมเนียมแล้วเป็นกางเขนของนักบุญนิโนผู้เป็นผู้ทำพิธีรับศีลจุ่มให้แก่ชาวจอร์เจีย และใช้เป็นสัญลักษณ์ของนิกายจอร์เจียออร์โธด็อกซ์SaintNinoCross.jpg
กางเขนนักบุญทอมัส
(Nasrani Menorah
St. Thomas Cross
Mar Thoma Cross)
เป็นกางเขนของนักบุญทอมัสอัครสาวกแห่งอินเดีย ใช้เป็นสัญลักษณ์ของนิกายซีเรียมาลาบาร์คาทอลิก (Syro-Malabar Catholic Church) หรือใช้โดย “ชาวซีเรียมาลาบาร์นาสรานี” (Syrian Malabar Nasrani) [1]St. Thomas Cross.jpg
กางเขนไขว้
(Saint Andrew's Cross
Saltire
Boundary Cross
crux decussata)
ใช้เป็นธงชาติสกอตแลนด์, ตรากองทัพเรือรัสเซีย และอดีตสมาพันธรัฐอเมริกา (Confederate States of America) บางครั้งก็เรียกว่า “กางเขนเขตแดน” เพราะใช้โดยโรมันสำหรับเป็นเครื่องหมายขอบเขต และ “กางเขนพระสันตะปาปา” เชื่อกันว่านักบุญอันดรูว์ถูกตรึงกางเขนบนกางเขนทรงนี้ซึ่งทำให้ได้รับชื่อดังว่าFlag of Scotland.svg
กางเขนนักบุญจอร์จ
(St George's Cross)
ใช้ในธงชาติอังกฤษFlag of England.svg
กางเขนนักบุญเปโตร
(Cross of St. Peter
Inverted Cross
เป็นกางเขนลาตินกลับหัวกลับหางที่เชื่อกันว่าเป็นลักษณะของกางเขนที่นักบุญซีโมนเปโตรถูกตรึงห้อยหัว ในปัจจุบันกางเขนนี้มักจะเกี่ยวข้องกับผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อคริสต์ศาสนา หรือกลุ่มลัทธิซาตานPeter's Cross.svg
หัวกะโหลกและกระดูกไขว้
(Skull and crossbones)
ไม่เชิงเป็นกางเขน แต่เป็นกระดูกที่จัดในรูปกางเขนไขว้ และตอนบนประดับด้วยหัวกะโหลกSkull and crossbones.svg
กางเขนนักบุญแอนโทนี
(Cross of Tau
Saint Anthony's Cross
Egyptian Cross
crux commissa)
เป็นกางเขนที่เป็นสัญลักษณ์ของนักบุญแอนโทนีอธิการ มีลักษณะคล้ายอักษร “T” นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีใช้กางเขนนี้เป็นเป็นสัญลักษณ์Te cross.svg
กางเขนโจร
Thieves' Cross
Furka Cross
มีลักษณะคล้ายอักษร “Y” [1]Gaffelkors.svg
กางเขนสมอ
กางเขนนักบุญเคลเมนต์
Mariner's Cross
St. Clement's Cross
เป็นกางเขนแปลงที่มีลักษณะเหมือนสมอเรือ หรือบางครั้งก็ถือว่าเป็นกางเขนของนักบุญเคลเมนต์ ที่ตามตำนานกล่าวว่าถูกมัดกับสมอเรือและจับถ่วงน้ำในทะเลดำMariner's Cross.svg
คณะกางเขนพระคริสต์
Order of Christ Cross
เพิมเป็นกางเขนที่ใช้โดยคณะกางเขนพระคริสต์ของโปรตุเกส แต่ต่อมากลายมาเป็นสัญลักษณ์ของโปรตุเกสที่ใช้บนเรือ carracks ระหว่างยุคแห่งการสำรวจ และในปัจจุบันในเขตปกครองตนเองมาเดราของโปรตุเกส และ กองทัพอากาศโปรตุเกสOrderOfCristCross.svg
กางเขนเคลติก
ประยุกต์
กลุ่มขบวนการชาตินิยมชนผิวขาว (white nationalist) และ ฟาสซิสต์ใหม่บางกลุ่มใช้กางเขนเคลติกประยุกต์เป็นสัญลักษณ์ ที่เป็นเส้นสายง่ายๆ โดยไม่มีสิ่งตกแต่งอันซับซ้อนเช่นกางเขนเคลติกตามปกติCeltic-style crossed circle.svg
กางเขนเซอร์เบีย
(Serbian cross
Tetragrammatic cross)
เป็นกางเขนที่ประยุกต์มาจากกางเขนคอนสแตนตินและใช้บนเหรียญไบแซนไทน์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 เครื่องหมายสี่เชื่อกันว่าเป็นหินเหล็กไฟ หรือ หินตีไฟ หรือเป็นอักษร “ß” ของคำแรกของคำขวัญของราชวงศ์พาลาโอโลกอส: “ราชาแห่งราชาปกครองเหนือราชาทั้งปวง” (กรีกßασιλεύς ßασιλέων, ßασιλεύων ßασιλευόντων - Basileus Basileōn, Basileuōn Basileuontōn)
กางเขนนี้ใช้โดยรัฐในเซอร์เบียและนิกายเซอร์เบียนออร์ทอดอกซ์ตั้งแต่สมัยกลางตั้งแต่รัชสมัยของ Stefan Uroš IV Dušan of Serbia เมื่อทรงได้รับการสวมมงกุฎเป็นซาร์แห่งเซอร์เบียและกรีซในปี ค.ศ. 1345 ในปัจจุบันกางเขนเป็นสัญลักษณ์ของชาติพันธุ์ ชาติ และ ศาสนาของชาวเซิร์บ และเซอร์เบีย
Serbian Cross1.svg
สวัสติกะ
(Swastika)
สวัสติกะเป็นกางเขนที่เป็นเครื่องหมากากบาทที่ตอนปลายหักเป็นมุมฉากที่อาจจะหันไปทางซ้าย (卐) หรือ ทางขวา (卍) ก็ได้ การใช้สวัสติกะมีมาตั้งแต่ยุคหินใหม่ในบริเวณที่ในปัจจุบันคืออินเดีย บางครั้งก็ใช้เป็นลายตกแต่งเรขาคณิต หรือบางครั้งก็จะเป็นสัญลักษณ์ทางศาสนา สวัสติกะยังคงเป็นสัญลักษณ์ที่นิยมใช้กันในศาสนาตะวันออก / ศาสนากลุ่มธรรมะ เช่น ศาสนาฮินดูศาสนาพุทธ และ ศาสนาเชน แม้ว่าจะเป็นสัญลักษณ์ที่เป็นที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปทั่วโลก แต่เมื่อมาได้รับการใช้โดยนาซีเยอรมนี สัญลักษณ์นี้ก็กลายเป็นสัญลักษณ์ต้องห้ามในโลกตะวันตกFinland roundel WW2 border.png

ในมุทราศาสตร์

กางเขนที่ปรากฏข้างล่างใช้ในการสร้างตราอาร์ม และบางครั้งอาจจะไม่มีความหมายพิเศษแต่อย่างใด

ชื่อกางเขนคำบรรยายรูป
กางเขนในกลุ่ม
เรขลักษณ์
กางเขนแบบพื้นฐานที่สุดในมุทราศาสตร์ (จะไม่นิยามถ้าใช้ลักษณะมาตรฐาน) แขนกางเขนสี่แขนจะมีความยาวเท่าๆ กันและได้สัดส่วนกับแบบของโล่ที่ใช้ โดยแขนกางเขนทั้งสีจรดของโล่ เช่นในนิยาม “Azure, a cross Or” (พื้นตราสีน้ำเงิน กางเขนสีทอง)
กางเขนที่ปลายไม่ยืดไปจรดขอบเรียกว่า “humetty” หรือ “กางเขนลอย”
Azure-Cross-Or-Heraldry.svg
กางเขนสมอ
(Cross anchry)
เป็นกางเขนประยุกต์ที่มีลักษณะเหมือนสมอเรือMariner's Cross.svg
กางเขนปลายศร
(Cross barbée
cross barby
arrow cross)
มีลักษณะเป็นกากบาทที่ตอนปลายเป็นลูกศร การใช้ที่เป็นที่รู้จักกันดีคือโดยฟาสซิสต์ของพรรคแอร์โรว์ครอส (Arrow Cross Party) ในคริสต์ทศวรรษ 1930 แต่เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้กันมานานก่อนหน้านั้น ที่ใช้โดยชนฮังการีในสมัยกลาง.[ต้องการอ้างอิง] ในการใช้ทางคริสต์ศาสนา ปลายกางเขนดูเหมือนขอตกปลา หรือหอกแทงปลา ซึ่งที่เป็นนัยยะถึงสัญลักษณ์ของพระเยซูผู้เป็น “fishers of men” ในพระคัมภีร์ArrowCross.svg
กางเขนปลายดอกจิก
(Cross anchry)
มีลักษณะเป็นกากบาทที่ตอนปลายมีลักษณะเหมือนดอกจิกสามแฉก (trefoil) ที่ปรากฏในสถาปัตยกรรม ตัวอย่างของเครื่องหมายนี้เช่นบนธงรัฐแมริแลนด์Cross-Bottony-Heraldry.svg
กางเขนเขาแพะ
(Cross cercelée)
มีลักษณะเป็นกากบาทที่ตอนปลายแตกเป็นสองแฉกบานออกไปทั้งสองข้างคล้ายเขาแพะBlason ville fr Montalembert (Deux-Sèvres).svg
กางเขนปลายกางเขน
(Cross anchry)
มีลักษณะเป็นกากบาทที่ตอนปลายของแต่ละแฉกเป็นกางเขนเล็กCross-Crosslet-Heraldry.svg
กางเขนลิลลี
(Cross fleury)
มีลักษณะเป็นกากบาทที่ตอนปลายของแต่ละแฉกมีลักษณะเหมือนสัญลักษณ์ดอกลิลลีCross-Flory-Heraldry.svg
กางเขนปลายซ่อม
(Cross anchry)
มีลักษณะเป็นกากบาทที่ตอนปลายของแต่ละแฉกแตกออกไปเป็นรูป “Y” (fourchée หรือ fourchy)Cross-Fourchee-Heraldry.svg
กางเขนปลายงอ
(Cross fylfot)
กางเขนแนวตั้งที่มีปลายงอคล้ายสวัสติกะArgent a fylfot azure.ant.png
กางเขนเยรูซาเลม
กางเขนครูเสด
(Jerusalem cross
Crusader's Cross)
เป็นกางเขนที่เป็นสัญลักษณ์ของราชอาณาจักรเยรูซาเลมของนักรบครูเสดที่รุ่งเรืองอยู่เกือบสองร้อยปีหลังจากสงครามครูเสดครั้งที่ 1 กางเขนเล็กสี่กางเขนกล่าวกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของพระวรสารสี่เล่ม (Gospel) หรือทิศทั้งสี่ของโลกที่ศาสนาคริสต์เผยแพร่ออกไปจากกรุงเยรูซาเลม หรือกางเขนทั้งห้าอาจจะถือว่าเป็นแผลทั้งห้าของพระเยซูที่ทรงได้รับเมื่อถูกตรึงกางเขน กางเขนเดียวกันนี้ใช้ใช้บนธงประจำชาติขเงจอร์เจีย และเป็นตราของลัทธิโฮลีเซพัลเครอ (Order of the Holy Sepulchre) และของนิกายผู้รักษาดินแดนศักดิ์สิทธิ์ (Custody of the Holy Land) ของลัทธิฟรานซิสกันJerusalem Cross.png
กางเขนมอลตา
(Maltese Cross)
เป็นกางเขนที่แต่แฉกเป็นสามเหลี่ยมปลายแหลมที่แต่ละยอดมาจรดตรงกลาง ปลายนอกบานออกไป โดยมีฐานที่หยักแหลมMaltese-Cross-Heraldry.svg
กางเขนเขาแพะน้อย
(Cross moline)
มีลักษณะเป็นกากบาทที่ตอนปลายแตกเป็นสองแฉกบานออกไปทั้งสองข้างคล้ายกางเขนเขาแพะและความบานตอนปลายน้อยกว่ามากCross-Moline-Heraldry.svg
กางเขนลิลลีหนา
(Cross anchry
cross patonce)
มีลักษณะคล้ายกางเขนลิลลีแต่หนากว่าCross-Patonce-Heraldry.svg
กางเขนปลายบาน
(Cross pattée
formée)
มีลักษณะคล้ายกางเขนมอลตาแต่ปลายที่จรดกันตรงศูนย์กลางกว้างกว่าและปลายฐานด้านนอกไม่หยักแหลม (ดูกางเขนเหล็ก)Cross-Pattee-Heraldry.svg
กางเขนปลายปุ่ม
(Cross anchry
pommée
pommy)
มีลักษณะเป็นกากบาทที่ตอนปลายแขนแต่ละแขนเป็นปุ่มกลมCross-Pommee-Heraldry.svg
กางเขนปลายที
(Cross potent)
มีลักษณะเป็นกากบาทที่ตอนปลายแขนแต่ละแขนเป็นแกนขวางประกบเหมือนตัว “T” คำว่า “Potent” เป็นคำเก่าที่แปลว่าไม้ยัน และเป็นคำที่ใช้ในมุทราศาสตร์ที่หมายถึงทรง ตัว “T”Cross-Potent-Heraldry.svg
กางเขนจตุรัสทับกลาง
(Quadrate)
เป็นกางเขนที่มีสี่เหลี่ยมจตุรัสทับกลางจุดตัดของแขนกางเขนQuadrate.gif
กางเขนสาน
(Cross triple parted and fretted)
กางเขนนี้จะนิยามว่า “cross triple parted and fretted” หรือ “treble parted and fretted” (“กางเขนสามตั้งและนอน”) สานกันCross-Triple-Parted-Fretted-Or.svg
กางเขนกลวง
(Cross anchry
Gammadia)
กางเขนนี้จะนิยามว่า “cross voided throughout” มีลักษณะเป็นกางเขนกรีกที่ตอนกลางกลวงออกCross-Voided.svg
??
(Cross fitchy)
ปลายด้านล่างแหลมเหมือนดาบCroix recroisetée au pied fiché.svg
กางเขนนักบุญเจมส์
(Cross of St James)
คล้ายกับ Cross fitchy แต่ปลายสองข้างเป็นดอกลิลลีและตอนล่างแหลมเป็นดาบ ซึ่งเป็นกางเขนสำหรับนักรบ และมักจะเป็นสีแดงCross Santiago.svg

อ้างอิง-กางเขน