วันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ลัทธิอนุตตรธรรมแอบอ้างไม้กางเขนและพระเยซู



ลัทธิอนุตตรธรรม แอบอ้างไม้กางเขนและพระเยซู 

โดยเรื่องนี้มีการดึงเอา ไม้กางเขน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งคริสต์ศาสนาไปแอบอ้างเพราะต้องการจะโยงไปสู่เรื่อง จุดญานทวารกลางคิ้ว ซึ่งลัทธิอนุตตรธรรมอุปโลกขึ้นมาว่าคือประตูนิพพาน โดยนำไปวาดใหม่ดังนี้


ให้วาดรูปไม้กางเขนและวาดวงกลมครอบลงไปจะได้วงกลมมีสี่แฉกด้านในพอใส่ตาตรงแกนสองข้างจะเป็นหน้าคน ตรงกลางก็คือดั้งจมูกเป๊ะ...

จากนั้นลัทธิจึงอุปโลกเรื่องใหม่ขึ้นว่า ไม้กางเขน นี้เป็นสิ่งที่พระเยซูทำขึ้นมาเพื่อจะบอกถึงจุดญาณทวารกลางคิ้ว ซึ่งในลัทธิอนุตตรธรรมถือว่าเป็นประตูนิพพาน แต่พระเยซูนั้นปกปิดเป็นความลับเพราะเป็นความลับสวรรค์จึงทำรูปไม้กางเขนเพื่อเป็นปริศนาธรรมซึ่งแม้แต่คนในคริสศาสนาก็ไม่ทราบได้นอกจากจะเข้ามาในลัทธิอนุตตรธรรมเท่านั้น 

เรื่องนี้จึงเป็นเรื่องที่แอบอ้างเอาไม้กางเขนและพระเยซูมารับรองความมั่วของลัทธิตัวเองเท่านั้น

ขอชี้แจงความมั่วนี้ว่า >> ไม้กางเขน พระเยซูไม่ได้เป็นคนสร้างขึ้นมาและพระเยซูคริสต์ไม่ได้บัญญัติให้แทนจุดกลางคิ้วดังกล่าวแน่นอน แต่เป็นของที่มีอยู่ดาษดื่นในสมัยนั้น ที่เป็นเครื่องทรมาณนักโทษ คนที่คิดจึงเป็นชาวโรมันที่มีอำนาจในตอนนั้น ซึ่งของดังกล่าวเป็นเครื่องประหาร ที่ถูกนำมาใช้ทรมาณพระเยซูนัยว่าเป็นการล้างบาปให้หมู่มนุษย์ ตามความเชื่อชาวคริสต์ในยุคต่อๆ มา ที่จะสร้างไม้กางเขนไว้ก็เพื่อให้ระลึกถึงความรักและการเสียสละของพระศาสดาองค์ดังกล่าว ที่มีให้แก่มนุษย์ทั้งหลาย

ตอนนี้เราลองมาดูกันดีกว่าครับว่าไม้กางเขนคืออะไร  ซึ่งรับรองว่าไม่ไช่อย่างที่ลัทธิอนุตตรธรรมนำไปแอบอ้างแน่นอนครับ

ความหมายที่แท้จริงของกางเขน (The Cross)

เมื่อพระเยซูคริสต์ถูกตัดสินให้ประหารด้วยการตรึงบนไม้กางเขน เขาก็นำพระองค์ไปโบยตีด้วยแส้หนังตามวิธีลงโทษนักโทษประหาร  หลังจากเฆี่ยนแล้วเขาก็นำพระองค์มาล้อเลียน เยาะเย้ย ทั้งเอาหนามมาสานเป็นมงกุฎสวมให้ด้วย  พอวันรุ่งขึ้นเขาก็ให้พระองค์แบกกางเขนอันใหญ่และหนักไปตามถนนทั้งๆ ที่พระองค์บอบช้ำและอดนอนมาตลอดทั้งคืนแล้ว

กางเขนที่พระเยซูแบกไปนั้นเข้าใจกันว่าเป็นกางเขนที่เราเห็นอยู่ในโบสถ์ทั่วๆ ไปซึ่งเรียกกันว่ากางเขนแบบลาติน  กางเขนในสมัยนั้นไม่ได้มีอยู่แบบเดียวเท่านั้น ยังมีกางเขนรูปตัว X เรียกว่ากางเขนของนักบุญอันดรูว์ เพราะเชื่อว่าอัครสาวกอันดรูว์ถูกตรึงด้วยกางเขนชนิดนี้

แบบที่ 3 ก็เป็นรูปตัว T มีชื่อว่ากางเขนแบบเทา (Tau Cross) เป็นกางเขนเก่าแก่ตั้งแต่พระคัมภีร์เดิม ซึ่งโมเสสใช้แบบนี้เพื่อชูงูขึ้น คราวที่เร่ร่อนในถิ่นทุรกันดาร

และแบบที่ 4 ก็คือแบบของกรีกที่เป็นรูปกากบาท + คือแบบสัญลักษณ์ของกาชาดนั่นเอง

นอกจากนี้ ยังมีกางเขนอีก 3 แบบ คือ

1. แบบเยรูซาเล็ม (Jerusalem Cross) ความหมายพระกิตติคุณจะขยายไปสี่มุมโลก และรำลึกถึงบาดแผล ห้าจุดของพระเยซูคริสต์

2. แบบมอดิส (Maltese Cross) เป็นรูปดาว 4 แฉก และมีมุม 8 มุม ซึ่งเล็กถึงพระพรทั้ง 8 ประการของพระเยซู ( มัทธิว 5:3-10 )

3. แบบเคลติค (Celtic Cross) รูปแบบกางเขนที่ได้รับอิทธิพลของชาวไอแลนด์โบราณวงกลมในกางเขนมีความหมายถึงความเป็นนิรันดร์ที่พระเยซูคริสต์ทรงเป็นขึ้นจากความตาย

นอกจากกางเขนสามรูปแบบที่เพิ่มเติม แล้วยังมีอีกหลายรูปแบบ ซึ่งขึ้นอยู่กับนิกาย และศาสนศาตร์/เทวศาสตร์ (Theology) ที่แตกต่างกัน

อย่างไรก็ตามความหมายคงไม่เปลี่ยนแปลง เพราะคือเล็งถึงการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูคริสต์บนไม้กางเขน เพื่อเป็นค่าไถ่มนุษยชาติ หรือบางคนอาจจะกล่าวว่ากางเขนเป็นเครื่องหมายแห่งความรอดแก่บรรดาผู้เชื่อ

การตรึงบนไม้กางเขน เป็นวิธีการทำให้เจ็บปวดรวดร้าว เป็นวิธีการประหารชีวิตซึ่งพวกโรมันใช้ ไม่ใช่เป็นวิธีการของพวกยิว

พวกยิวในสมัยพระคัมภีร์เดิมใช้วิธีประหารชีวิตพวก อาชญากรโดยใช้หินขว้างให้ตาย และเอาศพแขวนไว้บนต้นไม้เป็นเครื่องแสดงว่าคนถูกประหารชีวิตเหล่านั้นอยู่ภายใต้การสาปแช่งของพระเจ้า (ฉธบ. 21:22-23)

พวกยิวในสมัยพระเยซูอยู่ภายใต้การปกครองของโรมไม่มีอำนาจจัดการประหารชีวิต เขาต้องยอมให้ทางโรมทำ อย่างไรก็ตามพวกชาวยิวไม่ขอให้โรมเอาหินขว้างพระเยซูให้ตาย เขาเห็นว่าจับพระองค์ตรึงบนกางเขนให้ตายมันง่ายดีกว่า (มธ. 27:22-23)

พวกยิวถือกันว่ากางเขนของพระเยซูเป็นเสมือนต้นไม้ เพราะพระองค์ถูกแขวนไว้บนท่อนไม้รูปกางเขนนั้น พวกเขาจึงถือว่าพระองค์ตกอยู่ภายใต้การสาปแช่งของพระเจ้า

แท้ที่จริงพระเยซูคริสต์ได้ทรงแบกการสาปแช่งของพระเจ้าไว้กับพระองค์อย่างที่เขาคิด พระองค์กระทำเช่นนั้นไม่ใช่เพราะพระองค์เองกระทำผิด พระองค์เป็นผู้บริสุทธิ์ไม่มีความบาป แต่พระองค์ทรงรับการสาปแช่งแทนคนบาป   เพราะเหตุความเข้าใจผิดเรื่องการสาปแช่งแห่งกางเขนจึงทำให้การตรึงพระเยซูบนไม้กางเขนเป็นหินสะดุดพวกชาวยิว พวกเขาปฏิเสธไม่ยอมเชื่อพระเยซู เพราะฉะนั้นกางเขนจึงเป็นเครื่องกีดกันพวกเขา ไม่ให้รับความรอดจากพระเจ้า

ผู้เขียนพระคริสตธรรมคัมภีร์ใหม่ถือว่าการที่พระเยซูคริสต์ได้ทรงสิ้นพระชนม์บนไม้กางเขนนี้เป็นรากฐานแห่งพันธกิจการช่วยให้รอดของพระเจ้า

ดังนั้นไม้กางเขนจึงกลายเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของความรอด ซึ่งพระเจ้าทรงโปรดให้ผู้เชื่อทุกคนพ้นจากความผิดบาป ข่าวประเสริฐก็คือข่าวเรื่องไม้กางเขนนั่นเอง กางเขนจึงเป็นสัญลักษณ์แห่งความอับอาย และความตายด้วย   พระเยซูคริสต์ได้ทรงชี้แจงด้วยพระองค์เองว่า คนเหล่านั้นที่ต้องการจะเป็นสาวกของพระองค์ ต้องพร้อมที่จะเผชิญกับความอับอาย ความทุกข์ทรมานและความตาย ถ้าหากพวกเขาเป็นสาวกที่แท้จริงของพระองค์

ความเป็นมาของกางเขน
เดิมทีเกิดขึ้นในหมู่ชาวเปอร์เซีย พวกเขามีความเชื่อว่าแผ่นดินนั้นบริสุทธิ์และศักดิ์สิทธิ์ จึงไม่ยอมให้ร่างกายของผู้ทำผิดหรือร่างกายที่ชั่วร้ายนั้นมาเกลือกกลั้ว เมื่อจะประหารก็จัดการตรึงไว้ด้วยตะปูนแขวนห้อยเหนือพื้นดิน เมื่อตายแล้วก็ให้แร้งหรือสุนัขป่ามาฉีกกินจนสิ้นซาก   วิธีการเช่นนี้พวกคาเธจซึ่งอยู่ใกล้อิตาลีหรือโรมจดจำมาใช้และทางโรมันก็นำมาใช้อีกต่อหนึ่ง

แต่การนำกางเขนมาใช้นี้มิได้ใช้กับชาวโรมัน แต่จะใช้กับพวกทาสหรือพวกกบฏที่เป็นชาวต่างชาติ เพราะเขาถือว่าชาวโรมันเป็นผู้ที่อยู่เหนือกว่าคนชาติอื่นๆ จะถูกทำทารุณกรรมอย่างนั้นไม่ได้

ซิเซโร นักปรัชญาเป็นเอกที่มีชื่อเสียงในสมัยก่อนคริสต์ศตวรรษแสดงความเห็นไว้ว่า สำหรับประชาชนชาวโรมันแล้ว "การถูกจับมัดก็เป็นอาชญากรรม ถ้าถูกเฆี่ยนตีก็ยิ่งเลวร้ายไปกว่านั้นอีก คือถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรงอย่างที่สุด แต่ถ้าถูกตรึงบนกางเขนละก็ไม่ทราบว่าจะเปรียบกับอะไรอีกได้"

ด้วยเหตุนี้การประหารด้วยการตรึงบนกางเขนจึงไม่มีในหมู่ชาวโรมัน พระเยซูคริสต์ของเราถูกประหารอย่างทารุณที่สุด ต่ำต้อยที่สุดและน่าอับอายที่สุดที่มนุษย์จะคิดขึ้นได้ในสมัยนั้น

อ้างอิงhttp://www.followhissteps.com/web_christianstories/easter08.html

กางเขนแบบต่างๆ

ชื่อกางเขนคำบรรยายรูป
กางเขนละติน
(Latin cross
crux ordinaria)
เป็นทรงกางเขนที่นิยมมากที่สุดในคริสต์ศาสนา เป็นสัญลักษณ์ของการไถ่บาปให้มนุษย์ของพระเยซู เมื่อมีการตรึงพระเยซูที่กางเขนบนกางเขนแท้(True Cross) และการคืนชีพของพระองค์ ตามที่บรรยายในพันธสัญญาใหม่Christian cross.svg
กางเขนอียิปต์
(Ankh
Egyptian Cross
Key of the Nile
Looped Tau Cross
Ansate Cross)
เป็นกางเขนของอียิปต์โบราณที่เป็นสัญลักษณ์ของชีวิตและการเจริญพันธุ์ (fertility) บางครั้งก็จะได้ชื่อเป็นภาษาลาตินเมื่อปรากฏในบันทึกของคริสเตียนเช่น crux ansata ("กางเขนมือถือ")Ankh.svg
คอปติกแองค์
(Coptic ankh)
คอปติกแองค์เป็นกางเขนอียิปต์ที่มีมาก่อนกางเขนคอปติกของผู้นับถือคริสต์ศาสนาในอียิปต์Koptische Ankh.jpg
กางเขนคอปติกดั้งเดิม
(Original Coptic Cross)
กางเขนคอปติกดั้งเดิมเป็นกางเขนคอปติกที่ใช้โดยคริสต์ศาสนิกชนในอียิปต์Original Coptic cross.svg
กางเขนคอปติก
(Coptic Cross)
เป็นกางเขนที่มีวงแหวนตั้งอยู่ตรงกลางโดยมีรัศมีสี่แฉกเป็นรูปตัว “T” ทแยงออกไปสี่ทิศโดยมีหัวตัวทีอยู่ด้านนอก ที่เป็นสัญลักษณ์ของตาปูที่ใช้ในการตรึงกางเขนพระเยซู กางเขนชนิดได้รับชื่อจากคอปติกออร์ทอดอกซ์ที่มีศูนย์กลางอยู่ที่อะเล็กซานเดรียในอียิปต์Coptic-Cross.svg
กางเขนคอปติกใหม่
(New Coptic Cross)
กางเขนคอปติกใหม่เป็นกางเขนที่ใช้โดยชาวอียิปต์ผู้นับถือคริสต์ศาสนานิกายคอปติกออร์ทอดอกซ์แห่งอะเล็กซานเดรียที่วิวัฒนาการมาจากกางเขนคอปติกดั้งเดิม A gallery of Coptic Crosses can be found here.Coptic cross.svg
กางเขนสุริยะ
(Sun cross
Sunwheel
solar cross
Odin's cross)
หรือที่เรียกว่า “กางเขนโอดิน” เพราะสัญลักษณ์ของโอดินในตำนานเทพนอร์สเป็นกางเขนในวงกลม เป็นกางเขนที่ใช้กันโดยทั่วไปในวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองในทวีปอเมริกาที่เป็นสัญลักษณ์ของวงล้อแห่งการเยียวยา (Medicine Wheel) ของชีวิต และเป็นสัญลักษณ์ของขบวนการไญยนิยมSimple crossed circle.svg
กางเขนเคลติก
(High cross
Celtic cross)
กางเขนเคลติกที่ยืนเด่นมักจะพบโดยทั่วไปในไอร์แลนด์และบางแห่งในบริเตนใหญ่ และจะพบบ่อยในสุสานCcross.svg
กางเขนแคนเทอร์เบอรี
(Canterbury cross)
ใช้โดยแองกลิคันเป็นกางเขนสี่แฉกที่มีความยาวเท่ากัน ปลายของแต่ละแฉกจะบานออกไปจากศูนย์กลางคล้ายใบขวานจนด้านนอกเกือบจะจรดกันเป็นวงกลม กลางแฉกแต่ละแฉกจะมีเครื่องหมายเป็นรูปสามเหลี่ยมวงซ้อนสามเหลี่ยม (triquetra) ที่เป็นสัญลักษณ์ของตรีเอกภาพ ใจกลางของกางเขนเป็นสี่เหลี่ยมเล็ก สัญลักษณ์เดิมของแองโกล-แซกซันที่เป็นเข็มกลัดมีอายุมาตั้งแต่ราว ค.ศ. 850 ที่มาขุดพบในปี ค.ศ. 1867 ที่แคนเทอร์เบอรีในอังกฤษCantercross.svg
มหากางเขน
(Crucifix)
เป็นกางเขนที่เป็นสัญลักษณ์ของการตรึงพระเยซูที่กางเขน เป็นกางเขนที่ใช้ในนิกายโรมันคาทอลิก แองกลิคัน และอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ ที่เน้นการเสียสละของพระองค์โดยการพลีชีพบนกางเขนSmall crucifix.jpg
กางเขนกรีก
Greek cross
crux immissa quadrata
เป็นกางเขนที่ใช้โดยเฉพาะในอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์และศาสนาคริสต์ยุคแรก ที่แขนแต่ละข้างของกางเขนมีความยาวเท่ากันGreek cross.svg
กางเขนกรีกฟลอเรียน
Florian cross
กางเขนนี้ตั้งชื่อตามนักบุญฟลอเรียนผู้เป็นักบุญองค์อุปถัมภ์ของนักดับเพลิงในโปแลนด์ ออสเตรีย และ เยอรมนี มีลักษณะไกล้เคียงกับกางเขนมอลตาและกางเขนปลายบาน แต่แตกต่างตรงที่ปลายกางเขนจะมีลักษณะโค้งเป็นคลื่น ที่มีด้วยกันสองลักษณะ ๆ แรกมักจะพบในตราสัญลักษณ์(badge) ของผู้บริการดับเพลิง ตราล่างมักจะใช้ในเหรียญที่สร้างฉลองนักบุญฟลอเรียนFlorianCross1.PNG
FlorianCross2.png
กางเขนตะวันออก
(Eastern cross)
เป็นกางเขนที่ใช้โดยอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์และอีสเทิร์นคาทอลิกแห่งไบแซนไทน์ เส้นบนกล่าวว่าเป็นสัญลักษณ์ของหัวเตียง และเส้นล่างเป็นสัญลักษณ์ของที่พักเท้า เส้นทแยงเป็นสัญลักษณ์ของพระเยซูที่ทรงบิดพระวรกายด้วยความเจ็บปวดอย่างรุนแรงจนที่พักพระบาทหลุดเลื่อนจากที่ ที่พักพระบาททแยงขึ้นไปทางซ้าย ที่เป็นทิศทางของโจรผู้กล่าวกับพระองค์ว่า “จำข้าด้วยเมื่อท่านเข้าสู่อาณาจักรของท่าน” ซึ่งถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของคุณธรรมที่ชนะอธรรม ตัวอักษร “IC XC” ตอนปลายของกางเขนขวางสองข้างเป็นอักษรย่อของพระเยซู (Christogram) ที่อักษรย่อจากภาษากรีก “ΙΗΣΟΥΣ ΧΡΙΣΤΟΣ” หรือ “IHCOYC XPICTOC” ซึ่งเป็นพระนามของพระองค์OrthodoxCross.png
กางเขนนักบุญบริจิด
(St. Brigid's Cross)
เป็นกางเขนที่พบทั่วไปในไอร์แลนด์ ที่กล่าวกันว่าเป็นกางเขนที่สร้างโดยบริจิดลูกสาวของกษัตริย์นอกคริสต์ศาสนาจากใบหญ้าเพื่อจะใช้ในการทำพิธีเปลี่ยนศาสนา แต่ชื่อ “Brigid” มาจาก “Brigit” (สะกดอื่นก็ได้แก่ Brìghde, Brìde และ Bríde) เป็นเทพีแห่งไฟ กวีนิพนธ์ และช่างเหล็ก ของเคลติค ในปัจจุบันเป็นกางเขนที่เป็นสัญลักษณ์ในการป้องกันอัคคีภัย กางเขนนี้เป็นตัวอย่างของการผสานระหว่างคริสต์ศาสนากับวัฒนธรรมพื้นบ้านSt Brigid.png
กางเขนคอนสแตนติน
(Chi-Rho
labarum)
เป็นกางเขนที่เป็นสัญลักษณ์ของจักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 1 ที่มาจากอักษรย่อของพระเยซูในภาษากรีก “Χριστός” (chi = ch และ rho = r) กางเขนที่ใช้อักษรย่อนี้มีด้วยกันหลายแบบSimple Labarum2.svg
กางเขนลอแรน
(Cross of Lorraine)
เป็นกางเขนที่ใช้ในมุทราศาสตร์ที่มีลักษณะเกือบเหมือนกางเขนอัครบิดร แต่แขนกางเขนหนึ่งตั้งอยู่เกือบกลางจุดตัดของกางเขน และอีกแขนหนึ่งอยู่ตอนบน แทนที่ทั้งสองแขนจะตั้งอยู่ด้วยกันตอนบน กางเขนลอร์แรนเป็นเครื่องหมายที่ใช้ในตราอาร์มของแคว้นลอแรนทางตะวันออกของฝรั่งเศส เดิมเชื่อว่าเป็นสัญลักษณ์ของโยนออฟอาร์คผู้ต่อต้านการครอบครองของอังกฤษในฝรั่งเศสระหว่างสงครามร้อยปีCroix de Lorraine.png
กางเขนพระแม่มารีย์
(Marian Cross)
เป็นกางเขนที่ใช้ในตราอาร์มของสมเด็จพระสันตะปาปาจอห์น ปอลที่ 2 ที่ประยุกต์มาจากกางเขนคริสเตียนที่เน้นความศรัทธาในองค์พระนางมารีย์พรหมจารีMarian Cross.jpg
กางเขนนอร์ดิก
(Nordic Cross)
ใช้ในธงที่มาจากธงแดนเนอบรอกFlag of Denmark.svg
กางเขนอ็อกซิทาเนีย
(Occitan cross)
เป็นกางเขนที่มาจากตราอาร์มของเคานต์แห่งตูลูซที่กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของอ็อคซิทาเนีย (Occitania) ทั้งหมดCathar cross.svg
กางเขนพระสันตะปาปา
(Papal Cross)
เป็นกางเขนที่มีแขนกางเขนสามแขนขวางแกนกลางที่เป็นสัญลักษณ์ของไตรอำนาจของพระสันตะปาปาในฐานะบิชอปแห่งโรม ประมุขของคริสตจักรตะวันตก และ ผู้สืบการเป็นประมุขของคริสเตียนต่อมาจากนักบุญเปโตรPopesCross.svg
กางเขนอัครบิดร
(Patriarchal cross)
มีลักษณะคล้ายกางเขนคริสเตียนแต่มีแขนกางเขนสั้นเพิ่มอีกหนึ่งแขนเหนือแขนหลักที่เป็นสัญลักษณ์ของอาร์ชบิชอปและอัครบิดรอีสเทิร์นออร์ทอดอกซ์ บางครั้งก็จะมีแขนกางเขนทแยงบนตอนล่างของแกนตั้ง และมีลักษณะคล้าย กางเขนลอแรน และ กางเขนซาเล็มPatriarchal cross.svg
กางเขนเพรสไบทีเรียน
(Presbyterian Cross)
ใช้โดยนิกายเพรสไบทีเรียนUSVA headstone emb-04.svg
กางเขนกาชาด
(Red Cross)
สภากาชาดใช้กางเขนกาชาดเป็นสัญลักษณ์ของการรักษาพยาบาลเกือบทั่วโลก ยกเว้นประเทศในกลุ่มอิสลามที่ใช้ตรางซึกวงเดือนแดง (Red Crescent) และ ดาราแห่งเดวิด (Star of David) สีแดงในอิสราเอลFlag of the Red Cross.svg
กางเขนแห่งความเสียสละ
(Cross of Sacrifice)
เป็นกางเขนลาตินประดับดาบที่ปลายดาบห้อยลงข้างล่างที่เป็นสัญลักษณ์ของคณะกรรมาธิการอนุสรณ์ทหารผ่านศึกแห่งเครือจักรภพ(Commonwealth War Graves Commission) ที่จะพบในสุสานทหารหลายแห่งA Commonwealth Cross of Sacrifice or War Cross.jpg
กางเขนซาเล็ม
(Cross of Salem)
หรือบางครั้งก็เรียกว่า “กางเขนพระสันตะปาปา” เพราะเป็นกางเขนที่ใช้นำหน้าพระสันตะปาปาที่มีลักษณะคล้ายกางเขนอัครบิดร แต่มีแขนกางเขนเพิ่มอีกหนึ่งแขนใต้แขนหลักที่มีความยาวเท่ากับแขนบนสุด และมีลักษณะคล้ายกางเขนตะวันออกCrossOfSalem.gif
กางเขนจอร์เจีย
(Royal Flag of Georgia)
ใช้ในจอร์เจียเป็นธงประจำชาติ ใช้เป็นครั้งแรกโดยพระมหากษัตริย์จอร์เจีย Vakhtang Gorgasali ในคริสต์ศตวรรษที่ 5 และต่อมานำมาใช้โดยพระราชินีทามาร์แห่งจอร์เจียในคริสต์ศตวรรษที่ 13 เป็นธงที่มีกางเขนเยรูซาเลมที่เริ่มใช้ในรัชสมัยของจอร์จที่ 5 แห่งจอร์เจียผู้ทรงขับชาวมองโกลออกจากจอร์เจียในปี ค.ศ. 1334
Flag of Georgia.svg
กางเขนเถาองุ่น
(Grapevine cross
St. Nino's Cross)
กางเขนเถาองุ่นตามธรรมเนียมแล้วเป็นกางเขนของนักบุญนิโนผู้เป็นผู้ทำพิธีรับศีลจุ่มให้แก่ชาวจอร์เจีย และใช้เป็นสัญลักษณ์ของนิกายจอร์เจียออร์โธด็อกซ์SaintNinoCross.jpg
กางเขนนักบุญทอมัส
(Nasrani Menorah
St. Thomas Cross
Mar Thoma Cross)
เป็นกางเขนของนักบุญทอมัสอัครสาวกแห่งอินเดีย ใช้เป็นสัญลักษณ์ของนิกายซีเรียมาลาบาร์คาทอลิก (Syro-Malabar Catholic Church) หรือใช้โดย “ชาวซีเรียมาลาบาร์นาสรานี” (Syrian Malabar Nasrani) [1]St. Thomas Cross.jpg
กางเขนไขว้
(Saint Andrew's Cross
Saltire
Boundary Cross
crux decussata)
ใช้เป็นธงชาติสกอตแลนด์, ตรากองทัพเรือรัสเซีย และอดีตสมาพันธรัฐอเมริกา (Confederate States of America) บางครั้งก็เรียกว่า “กางเขนเขตแดน” เพราะใช้โดยโรมันสำหรับเป็นเครื่องหมายขอบเขต และ “กางเขนพระสันตะปาปา” เชื่อกันว่านักบุญอันดรูว์ถูกตรึงกางเขนบนกางเขนทรงนี้ซึ่งทำให้ได้รับชื่อดังว่าFlag of Scotland.svg
กางเขนนักบุญจอร์จ
(St George's Cross)
ใช้ในธงชาติอังกฤษFlag of England.svg
กางเขนนักบุญเปโตร
(Cross of St. Peter
Inverted Cross
เป็นกางเขนลาตินกลับหัวกลับหางที่เชื่อกันว่าเป็นลักษณะของกางเขนที่นักบุญซีโมนเปโตรถูกตรึงห้อยหัว ในปัจจุบันกางเขนนี้มักจะเกี่ยวข้องกับผู้เป็นปฏิปักษ์ต่อคริสต์ศาสนา หรือกลุ่มลัทธิซาตานPeter's Cross.svg
หัวกะโหลกและกระดูกไขว้
(Skull and crossbones)
ไม่เชิงเป็นกางเขน แต่เป็นกระดูกที่จัดในรูปกางเขนไขว้ และตอนบนประดับด้วยหัวกะโหลกSkull and crossbones.svg
กางเขนนักบุญแอนโทนี
(Cross of Tau
Saint Anthony's Cross
Egyptian Cross
crux commissa)
เป็นกางเขนที่เป็นสัญลักษณ์ของนักบุญแอนโทนีอธิการ มีลักษณะคล้ายอักษร “T” นักบุญฟรังซิสแห่งอัสซีซีใช้กางเขนนี้เป็นเป็นสัญลักษณ์Te cross.svg
กางเขนโจร
Thieves' Cross
Furka Cross
มีลักษณะคล้ายอักษร “Y” [1]Gaffelkors.svg
กางเขนสมอ
กางเขนนักบุญเคลเมนต์
Mariner's Cross
St. Clement's Cross
เป็นกางเขนแปลงที่มีลักษณะเหมือนสมอเรือ หรือบางครั้งก็ถือว่าเป็นกางเขนของนักบุญเคลเมนต์ ที่ตามตำนานกล่าวว่าถูกมัดกับสมอเรือและจับถ่วงน้ำในทะเลดำMariner's Cross.svg
คณะกางเขนพระคริสต์
Order of Christ Cross
เพิมเป็นกางเขนที่ใช้โดยคณะกางเขนพระคริสต์ของโปรตุเกส แต่ต่อมากลายมาเป็นสัญลักษณ์ของโปรตุเกสที่ใช้บนเรือ carracks ระหว่างยุคแห่งการสำรวจ และในปัจจุบันในเขตปกครองตนเองมาเดราของโปรตุเกส และ กองทัพอากาศโปรตุเกสOrderOfCristCross.svg
กางเขนเคลติก
ประยุกต์
กลุ่มขบวนการชาตินิยมชนผิวขาว (white nationalist) และ ฟาสซิสต์ใหม่บางกลุ่มใช้กางเขนเคลติกประยุกต์เป็นสัญลักษณ์ ที่เป็นเส้นสายง่ายๆ โดยไม่มีสิ่งตกแต่งอันซับซ้อนเช่นกางเขนเคลติกตามปกติCeltic-style crossed circle.svg
กางเขนเซอร์เบีย
(Serbian cross
Tetragrammatic cross)
เป็นกางเขนที่ประยุกต์มาจากกางเขนคอนสแตนตินและใช้บนเหรียญไบแซนไทน์ ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 6 เครื่องหมายสี่เชื่อกันว่าเป็นหินเหล็กไฟ หรือ หินตีไฟ หรือเป็นอักษร “ß” ของคำแรกของคำขวัญของราชวงศ์พาลาโอโลกอส: “ราชาแห่งราชาปกครองเหนือราชาทั้งปวง” (กรีกßασιλεύς ßασιλέων, ßασιλεύων ßασιλευόντων - Basileus Basileōn, Basileuōn Basileuontōn)
กางเขนนี้ใช้โดยรัฐในเซอร์เบียและนิกายเซอร์เบียนออร์ทอดอกซ์ตั้งแต่สมัยกลางตั้งแต่รัชสมัยของ Stefan Uroš IV Dušan of Serbia เมื่อทรงได้รับการสวมมงกุฎเป็นซาร์แห่งเซอร์เบียและกรีซในปี ค.ศ. 1345 ในปัจจุบันกางเขนเป็นสัญลักษณ์ของชาติพันธุ์ ชาติ และ ศาสนาของชาวเซิร์บ และเซอร์เบีย
Serbian Cross1.svg
สวัสติกะ
(Swastika)
สวัสติกะเป็นกางเขนที่เป็นเครื่องหมากากบาทที่ตอนปลายหักเป็นมุมฉากที่อาจจะหันไปทางซ้าย (卐) หรือ ทางขวา (卍) ก็ได้ การใช้สวัสติกะมีมาตั้งแต่ยุคหินใหม่ในบริเวณที่ในปัจจุบันคืออินเดีย บางครั้งก็ใช้เป็นลายตกแต่งเรขาคณิต หรือบางครั้งก็จะเป็นสัญลักษณ์ทางศาสนา สวัสติกะยังคงเป็นสัญลักษณ์ที่นิยมใช้กันในศาสนาตะวันออก / ศาสนากลุ่มธรรมะ เช่น ศาสนาฮินดูศาสนาพุทธ และ ศาสนาเชน แม้ว่าจะเป็นสัญลักษณ์ที่เป็นที่นิยมใช้กันโดยทั่วไปทั่วโลก แต่เมื่อมาได้รับการใช้โดยนาซีเยอรมนี สัญลักษณ์นี้ก็กลายเป็นสัญลักษณ์ต้องห้ามในโลกตะวันตกFinland roundel WW2 border.png

ในมุทราศาสตร์

กางเขนที่ปรากฏข้างล่างใช้ในการสร้างตราอาร์ม และบางครั้งอาจจะไม่มีความหมายพิเศษแต่อย่างใด

ชื่อกางเขนคำบรรยายรูป
กางเขนในกลุ่ม
เรขลักษณ์
กางเขนแบบพื้นฐานที่สุดในมุทราศาสตร์ (จะไม่นิยามถ้าใช้ลักษณะมาตรฐาน) แขนกางเขนสี่แขนจะมีความยาวเท่าๆ กันและได้สัดส่วนกับแบบของโล่ที่ใช้ โดยแขนกางเขนทั้งสีจรดของโล่ เช่นในนิยาม “Azure, a cross Or” (พื้นตราสีน้ำเงิน กางเขนสีทอง)
กางเขนที่ปลายไม่ยืดไปจรดขอบเรียกว่า “humetty” หรือ “กางเขนลอย”
Azure-Cross-Or-Heraldry.svg
กางเขนสมอ
(Cross anchry)
เป็นกางเขนประยุกต์ที่มีลักษณะเหมือนสมอเรือMariner's Cross.svg
กางเขนปลายศร
(Cross barbée
cross barby
arrow cross)
มีลักษณะเป็นกากบาทที่ตอนปลายเป็นลูกศร การใช้ที่เป็นที่รู้จักกันดีคือโดยฟาสซิสต์ของพรรคแอร์โรว์ครอส (Arrow Cross Party) ในคริสต์ทศวรรษ 1930 แต่เป็นสัญลักษณ์ที่ใช้กันมานานก่อนหน้านั้น ที่ใช้โดยชนฮังการีในสมัยกลาง.[ต้องการอ้างอิง] ในการใช้ทางคริสต์ศาสนา ปลายกางเขนดูเหมือนขอตกปลา หรือหอกแทงปลา ซึ่งที่เป็นนัยยะถึงสัญลักษณ์ของพระเยซูผู้เป็น “fishers of men” ในพระคัมภีร์ArrowCross.svg
กางเขนปลายดอกจิก
(Cross anchry)
มีลักษณะเป็นกากบาทที่ตอนปลายมีลักษณะเหมือนดอกจิกสามแฉก (trefoil) ที่ปรากฏในสถาปัตยกรรม ตัวอย่างของเครื่องหมายนี้เช่นบนธงรัฐแมริแลนด์Cross-Bottony-Heraldry.svg
กางเขนเขาแพะ
(Cross cercelée)
มีลักษณะเป็นกากบาทที่ตอนปลายแตกเป็นสองแฉกบานออกไปทั้งสองข้างคล้ายเขาแพะBlason ville fr Montalembert (Deux-Sèvres).svg
กางเขนปลายกางเขน
(Cross anchry)
มีลักษณะเป็นกากบาทที่ตอนปลายของแต่ละแฉกเป็นกางเขนเล็กCross-Crosslet-Heraldry.svg
กางเขนลิลลี
(Cross fleury)
มีลักษณะเป็นกากบาทที่ตอนปลายของแต่ละแฉกมีลักษณะเหมือนสัญลักษณ์ดอกลิลลีCross-Flory-Heraldry.svg
กางเขนปลายซ่อม
(Cross anchry)
มีลักษณะเป็นกากบาทที่ตอนปลายของแต่ละแฉกแตกออกไปเป็นรูป “Y” (fourchée หรือ fourchy)Cross-Fourchee-Heraldry.svg
กางเขนปลายงอ
(Cross fylfot)
กางเขนแนวตั้งที่มีปลายงอคล้ายสวัสติกะArgent a fylfot azure.ant.png
กางเขนเยรูซาเลม
กางเขนครูเสด
(Jerusalem cross
Crusader's Cross)
เป็นกางเขนที่เป็นสัญลักษณ์ของราชอาณาจักรเยรูซาเลมของนักรบครูเสดที่รุ่งเรืองอยู่เกือบสองร้อยปีหลังจากสงครามครูเสดครั้งที่ 1 กางเขนเล็กสี่กางเขนกล่าวกันว่าเป็นสัญลักษณ์ของพระวรสารสี่เล่ม (Gospel) หรือทิศทั้งสี่ของโลกที่ศาสนาคริสต์เผยแพร่ออกไปจากกรุงเยรูซาเลม หรือกางเขนทั้งห้าอาจจะถือว่าเป็นแผลทั้งห้าของพระเยซูที่ทรงได้รับเมื่อถูกตรึงกางเขน กางเขนเดียวกันนี้ใช้ใช้บนธงประจำชาติขเงจอร์เจีย และเป็นตราของลัทธิโฮลีเซพัลเครอ (Order of the Holy Sepulchre) และของนิกายผู้รักษาดินแดนศักดิ์สิทธิ์ (Custody of the Holy Land) ของลัทธิฟรานซิสกันJerusalem Cross.png
กางเขนมอลตา
(Maltese Cross)
เป็นกางเขนที่แต่แฉกเป็นสามเหลี่ยมปลายแหลมที่แต่ละยอดมาจรดตรงกลาง ปลายนอกบานออกไป โดยมีฐานที่หยักแหลมMaltese-Cross-Heraldry.svg
กางเขนเขาแพะน้อย
(Cross moline)
มีลักษณะเป็นกากบาทที่ตอนปลายแตกเป็นสองแฉกบานออกไปทั้งสองข้างคล้ายกางเขนเขาแพะและความบานตอนปลายน้อยกว่ามากCross-Moline-Heraldry.svg
กางเขนลิลลีหนา
(Cross anchry
cross patonce)
มีลักษณะคล้ายกางเขนลิลลีแต่หนากว่าCross-Patonce-Heraldry.svg
กางเขนปลายบาน
(Cross pattée
formée)
มีลักษณะคล้ายกางเขนมอลตาแต่ปลายที่จรดกันตรงศูนย์กลางกว้างกว่าและปลายฐานด้านนอกไม่หยักแหลม (ดูกางเขนเหล็ก)Cross-Pattee-Heraldry.svg
กางเขนปลายปุ่ม
(Cross anchry
pommée
pommy)
มีลักษณะเป็นกากบาทที่ตอนปลายแขนแต่ละแขนเป็นปุ่มกลมCross-Pommee-Heraldry.svg
กางเขนปลายที
(Cross potent)
มีลักษณะเป็นกากบาทที่ตอนปลายแขนแต่ละแขนเป็นแกนขวางประกบเหมือนตัว “T” คำว่า “Potent” เป็นคำเก่าที่แปลว่าไม้ยัน และเป็นคำที่ใช้ในมุทราศาสตร์ที่หมายถึงทรง ตัว “T”Cross-Potent-Heraldry.svg
กางเขนจตุรัสทับกลาง
(Quadrate)
เป็นกางเขนที่มีสี่เหลี่ยมจตุรัสทับกลางจุดตัดของแขนกางเขนQuadrate.gif
กางเขนสาน
(Cross triple parted and fretted)
กางเขนนี้จะนิยามว่า “cross triple parted and fretted” หรือ “treble parted and fretted” (“กางเขนสามตั้งและนอน”) สานกันCross-Triple-Parted-Fretted-Or.svg
กางเขนกลวง
(Cross anchry
Gammadia)
กางเขนนี้จะนิยามว่า “cross voided throughout” มีลักษณะเป็นกางเขนกรีกที่ตอนกลางกลวงออกCross-Voided.svg
??
(Cross fitchy)
ปลายด้านล่างแหลมเหมือนดาบCroix recroisetée au pied fiché.svg
กางเขนนักบุญเจมส์
(Cross of St James)
คล้ายกับ Cross fitchy แต่ปลายสองข้างเป็นดอกลิลลีและตอนล่างแหลมเป็นดาบ ซึ่งเป็นกางเขนสำหรับนักรบ และมักจะเป็นสีแดงCross Santiago.svg

อ้างอิง-กางเขน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น