วันพุธที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ลัทธิมานิ-ต้นกำเนิดลัทธิอนุตตรธรรม

ลัทธิมานิ - ลัทธิต้นกำเนิดลัทธิอนุตตรธรรม

ลัทธิแสงธรรม หรือ หมิงเจี้ยว ในภาษาจีนกลาง และ เม้งก่า ในภาษาแต้จิ๋ว คือลัทธิหนึ่งในประวัติศาสตร์จีน...ลัทธิแสงธรรมนี้เป็นลัทธิที่มาจากต่างประเทศนั่นคือ ลัทธิมานิ

ลัทธิมานิ Manichaeism (บางคนอาจจะเรียกว่าลัทธิมณี แต่เนื่องจากคำว่า มณี เป็นภาษาสันสกฤตอาจทำให้หลายคนเข้าใจผิดว่าลัทธินี้มีต้นกำเนิดมาจากอินเดียจึงขอเรียกว่า มานิ) เป็นสาขาหนึ่งในศาสนาบูชาไฟ Zoroastrianism มีต้นกำเนิดในอาณาจักรเปอร์เซีย (ปัจจุบันคือประเทศอิหร่าน) ก่อตั้งโดย มานิ Mani ในพุทธศตวรรษที่ 8 โดยในปี พ.ศ.785 ได้เดินทางไปเผยแพร่ที่บาบิโลน ต่อมาในปี พ.ศ.820 ได้ถูกตรึงกางเขนจนเสียชีวิต


ปี พ.ศ.785 มานิได้เดินทางไปเผยแพร่ลัทธิที่บาบิโลนได้รับการนับถือจากกษัตริย์เปอร์เซียจึงสามารถลงหลักปักฐานได้ที่เปอร์เซีย ต่อมาเมื่อกองทัพโรมันยึดเปอร์เซียไว้ได้ลัทธิมานิจึงถูกกวาดล้าง เมื่อหนีมาอยู่ที่ Transoxiana จึงปลอดภัย

ลัทธินี้มีความเชื่อถึง ทวิภาวะและไตรยุคทวิภาวะ คือ ๒ สภาวะของ แสงสว่าง” (ความดี) และ ความมืด” (ความชั่ว)
ไตรยุค ได้แก่ ยุคทั้งสาม คือ 
ยุคแรก แสงสว่างและความมืดแยกจากกัน
ยุคที่สอง แสงสว่างและความมืดมารวมและรบกัน
ยุคสุดท้าย แสงสว่างและความมืดแยกจากกันอีกครั้ง
โดยแสงสว่าง เป็นพระบิดาที่ยิ่งใหญ่ ความมืด คือบุตร ผู้เป็นราชันย์แห่งความมืด  ด้วยเหตุที่ ลัทธิมานิ เป็นสาขาของศาสนาบูชาไฟนี้เองจึงเคารพบูชาแสงสว่างจนมาเป็น ลัทธิแสงธรรม ในพากย์จีนในที่สุด

ราชันย์แห่งความมืดมาท้ารบกับพระบิดาผู้ยิ่งใหญ่ พระบิดาไม่อยากรบด้วย จึงสร้างมารดาแห่งชีวิต มารดาแห่งชีวิตให้กำเนิดบุตรมนุษย์คนแรกโดยมีโอรสแสงสว่างทั้งห้าไปรบกับราชันย์ความมืดแล้วแพ้ โอรสแสงสว่างถูกความมืดกลืนลงไปมนุษย์คนแรกจึงขอให้พระบิดาช่วยสร้างเทพขึ้นอีกมากมาย แล้วเทพเหล่านั้นก็สร้างเทพอีกเป็นทอดๆ จนโอรสแสงสว่างทั้ง ๕ ได้รับการช่วยเหลือ

ลัทธิมานิอธิบายว่า เทพมากมายที่พระบิดาสร้าง คือการสร้างจักรวาลและสรรพสิ่ง ผู้เผยแพร่ลัทธิแห่งแสงสว่าง คือทูตแห่งแสงสว่างเพื่อประกาศธรรมช่วยสรรพชีวิตพ้นทุกข์ให้กลับคืนสู่พระบิดา(คล้ายกับที่ลัทธิอนุตตรธรรมอุปโลกเรื่องการกลับนิพพานบ้านเดิม) โดยยังอ้างว่า บรรดาศาสดาของทุกศาสนาและลัทธิต่างๆ เป็นเพียงทูตแห่งแสงสว่าง เป็นวิธีการกล่าวตู่เหมารวมที่มีตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบัน(เหมือนกับที่ลัทธิอนุตตรธรรมอุปโลกว่าพระพุทธเจ้าคือผู้ที่พระแม่องค์ธรรมส่งมา)

เอกลักษณ์ที่สำคัญของลัทธิมานิคือการนับถือแสงสว่าง ,พระบิดาผู้ยิ่งใหญ่ ,มารดาแห่งชีวิต ,การบริโภคมังสะวิรัติ ,งดเว้นการดื่มสุรา ,การนุ่งขาวห่มขาว ฯลฯ

ลัทธิมานิ เข้าสู่ประเทศจีนในนาม ลัทธิแสงธรรม ในสมัยราชวงศ์สุย (พ.ศ.1124 – 1161) และปรากฏอย่างชัดเจนในสมัยราชวงศ์ถัง (พ.ศ.1161 – 1450) เมื่อเข้ามานั้นได้อาศัยพุทธศาสนาและศาสนาเต๋าเป็นเครื่องมือ โดยการแอบอ้างและแปลงเทพต่าง ๆ ของตนให้เป็นพระพุทธเจ้า ,พระโพธิสัตว์ในพุทศาสนา และเทพเจ้าของศาสนาเต๋าและขงจื่อ จนมาถึงสมัยราชวงศ์ซ่ง (พ.ศ.1503 – 1822) มีการเผยแพร่ลัทธิในหมู่ประชาชนโดยเฉพาะภาคใต้ของประเทศจีน อันได้แก่ เจียงตง(กังตั๋ง) ,เจียงซี(กังไส) ,ฝูเจี้ยน(ฮกเกี้ยน) ทั้งยังปลุกปั่นให้ประชาชนก่อการจลาจลหลายครั้ง จนฝูเจี้ยนกลายเป็นศูนย์กลางของลัทธิในที่สุด  โดยมีคัมภีร์ที่แอบอ้างชื่อพุทธศาสนาที่สำคัญ 2 คัมภีร์คือ ไท่หยางซิงจวินเจิงจิง หรือ ไท่หยางเจินจิง และ ไท่อินซิงจวินเจินจิง หรือ ไท่อินเจินจิง  โดยที่คัมภีร์ทั้งสองนี้ยังสามารถพบได้ในปัจจุบันและพบได้ในประเทศไทยด้วย
ต่อมาในสมัยซ่งใต้ (พ.ศ.1670 – 1822) ลัทธิแสงธรรมได้ผนวกรวมกับลัทธิบัวขาว ต่อมา หมิงไท่จู่ฮ่องเต้(จูเหยวียนจาง)แห่งราชวงศ์หมิงสั่งควบคุมกิจกรรมของลัทธิบัวขาวทำให้ลัทธิต้องลงใต้ดินกลายเป็นลัทธินอกกฎหมาย

ในสมัยราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิง ลัทธิบัวขาวทำกิจกรรมและแลกเปลี่ยนความเชื่อกับลัทธิต่าง ๆ ต่อมา หลอเมิ่งหง ก่อตั้งลัทธิหลอจู่ก็ได้รับความเชื่อมาด้วยจนพัฒนาเป็นลัทธินาคปุษปะ ,ลัทธิอนุตตรธรรม , เมตไตรมหามรรค ฯลฯ ในปัจจุบัน

อนุตตรธรรมมารดา (อู๋เซิงเหลาหมู่ , อู๋จี๋เทียนหมู่ , หวงหมู่ ,พระแม่องค์ธรรม ) ที่ลัทธินาคปุษปะ ,ลัทธิบุพพนภามรรค ,ลัทธิอนุตตรธรรม , ลัทธิเมตไตรมหามรรค ฯลฯ กล้าวอ้างแท้จริงแล้วก็มาจาก มารดาแห่งชีวิตของมานินั่นเอง

แม้แต่ในพิธีกราบใหว้ของลัทธิอนุตตรธรรมจะต้องขึ้นต้นด้วยพระนามของ อนุตตรธรรมมารดา โดยใช้คำว่า หมิงหมิงซั่งตี้  ซึ่งคำว่าหมิงนั้นก็หมายถึงแสงสว่างนั้นนั่นเอง

หมายเหตุ : ลัทธินี้อาจจะเรียกได้หลายชื่อนะครับเช่น มานิ ,มณี ,มาณีกี ,หมิงเจี้ยว ,เม้งก่า ,แสงธรรม  ลัทธิทั้งหมดนี้ล้วนมีที่มาเหมือนกันครับ
______________________________________

ส่วนนี้ขอยกมาจากวิกิพีเดียที่ได้ลงข้อมูลของลัทธิมานิไว้เช่นกันครับ


ศาสนามาณีกี[1] หรือ ศาสนามณี เป็นศาสนาแบบไญยนิยมที่มีต้นกำเนิดในจักรวรรดิเอรานชาหร์ มีพระมาณีหรือพระมณีเป็นศาสดา แม้ว่างานเขียนของท่านจะหายสาบสูญไปทั้งหมดแล้ว แต่ยังคงมีฉบับแปลในภาษาต่าง ๆ ตกทอดมาถึงปัจจุบัน
ศาสนามาณีกีสอนเชิงจักรวาลวิทยาว่าจักรวาลแบ่งออกเป็นของด้าน คือด้านความดีงาม จิตวิญญาณ และความสว่าง กับความชั่วร้าย วัตถุ และความมืด สันนิษฐานว่าศาสนามาณีกีได้รับแนวคิดนี้มาจากแนวคิดของพวกไญยนิยมในเมโสโปเตเมีย[2]
ศาสนามาณีกีแพร่หลายมากในภูมิภาคที่ใช้ภาษาแอราเมอิกและซิเรียก[3]ราวคริสต์ศตวรรษที่ 3 - 7 จนกลายเป็นศาสนาที่แพร่หลายมากที่สุดในโลกศาสนาหนึ่งในยุคนั้น ศาสนจักรมาณีกีแพร่ไปทางตะวันออกไกลถึงประเทศจีน และทางตะวันตกไกลถึงจักรวรรดิโรมัน[4] โดยมีศาสนิกชนส่วนมากเป็นทหาร จนได้ชื่อว่าเป็นศาสนาของกองทัพ และกลายเป็นคู่แข่งของศาสนาคริสต์ แทนลัทธิเพกันที่เสื่อมไปก่อนหน้านั้นแล้ว ศาสนามาณีกีในภูมิภาคตะวันออกดำรงอยู่นานกว่าทางตะวันตก โดยโดยเสื่อมสลายไปราวคริสต์ศตวรรษที่ 14 ทางใต้ของจีน[5]
ศาสนิกชนของศาสนานี้เรียกว่าชาวมาณีกีหรือชาวมาณีเชียน ซึ่งในปัจจุบันคำว่ามาณีเชียนได้ใช้หมายรวมถึงผู้มีแนวคิดทางจริยศาสตร์รูปแบบหนึ่งที่มองศีลธรรมแบบทวินิยมคือมีความดีความชั่วอยู่จริง และอยู่แยกกันต่างหากอย่างชัดเจน

___________________________________________


 ขอบคุณ

http://www.yokipedia.com/vegetarian/121-2010-09-09-17-56-06

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%93%E0%B8%B5%E0%B8%81%E0%B8%B5


  1.  ราชบัณฑิตยสถานพจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พิมพ์ครั้งที่ 3, ราชบัณฑิตยสถาน, 2552, หน้า 186
  2. Jump up Widengren, Geo Mesopotamian elements in Manichaeism (King and Saviour II): Studies in Manichaean, Mandaean, and Syrian-gnostic religion, Lundequistska bokhandeln, 1946.
  3. Jump up Jason BeDuhn; Paul Allan Mirecki (2007). Frontiers of Faith: The Christian Encounter With Manichaeism in the Acts of Archelaus. BRILL. pp. 6–. ISBN 978-90-04-16180-1. สืบค้นเมื่อ 27 August 2012.
  4. Jump up Andrew Welburn, Mani, the Angel and the Column of Glory: An Anthology of Manichaean Texts (Edinburgh: Floris Books, 1998), p. 68
  5. Jump up Jason David BeDuhn The Manichaean Body: In Discipline and Ritual Baltimore: Johns Hopkins University Press. 2000 republished 2002 p.IX



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น