วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เหตที่พุทธศาสนาเสื่อมจากอินเดีย


เหตที่พุทธศาสนาเสื่อมจากอินเดีย

ชาว พุทธและนักปราชญ์ส่วนส่วนมากมักสงสัยว่า เพราะเหตุใดพระพุทธศาสนาจึงได้เสื่อมหายไปจากประเทศอินเดีย อันเป็นดินแดนก่อกำเนิดของพุทธศาสนา ปัญหานี้มีคนสงสัยกันมาก มูลเหตุมาจากสาเหตุหลายประการแต่ที่สำคัญแบ่งออกเป็น ๒ อย่าง คือ ๑.ภัยภายใน ๒.ภัยภายนอก


๑.ภัยภายใน

๑. เพราะแตกสามัคคี เพราะพระสงฆ์เกิดแตกสามัคคี ไม่มีความปรองดองกัน ชิงดีชิงเด่นกันเป็นใหญ่ หลงไหลในลาภยศสักการะ ไม่ประพฤติตามพระธรรมวินัย เปลี่ยนแปลงแก้ไขคำสอนอันดั้งเดิมเพิ่มเติมเข้ามาใหม่ทำไห้เกิดสัทธรรมปฎิ รูป แม้แต่สมัยพระพุทธองค์ยังทรงพระชนม์อยู่ เช่นเรื่องการแตกสามัคคีของพระภิกษุชาวเมืองโกสัมพี และพระเทวทัตต์ เป็นต้น

และ ได้มีสืบต่อๆกันมาไม่ขาดระยะ นับว่าเป็นจุดอ่อนอย่างหนึ่งในวงการพุทธศาสนาอันเป็นเหตุให้ศาสนาอื่นๆ ฉวยโอกาสโจมตีได้ เท่ากับเป็นการเปิดประตูบ้านให้พวกโจรเข้ามาขโมยของในบ้าน สังคายนาแต่ละครั้งที่ทำในอินเดียจึงมีมูลเหตุมาแต่การแตกแยกของพระภิกษุ สงฆ์เป็นส่วนใหญ่

๒.เลียนแบบลัทธิตันตระในศาสนาฮินดู เมื่อ พศ.๑๕๐๐ พุทธศาสนาได้รับเอาลัทธิตันตระของฮินดูมาปฎิบัติ แล้วเรียกในชื่อใหม่ว่า พุทธตันตระ ซึ่งเป็นการขัดต่อคำสอนดั้งเดิมของพุทธศาสนา คำว่า พุทธตันตระ หมายเอาพุทธศาสนาในยุคหลังอันมี มนตรยาน วัชรยาน และสหัสยาน ลัทธินี้ก่อนที่จะเสื่อมจากอินเดียได้ไปเจริญรุ่งเรืองในประเทศธิเบต เนปาล และภูฐาน เมื่อพุทธศาสนาถือเอาลัทธิตันตระมาผสมผสานกับศาสนาของตน จึงไม่มีความแตกต่างจากฮินดู ทำให้ห่างจากหลักการเดิมไปทุกที

๓.พระ สงฆ์ลืมหลักการเดิม เมื่อพุทธปรินิพพานราว ๑๐๐ ปีเป็นต้นมา พุทธศาสนาเปรียบเหมือนเรือไม่มีหางเสือ ลูกที่กำพร้าพ่อแม่ จึงเริ่มไม่เกรงใจกันและกัน ได้เริ่มมีทิฏฐิ ไม่ยอมอยู่ร่วมกัน แยกออกเป็นนิกายมากมาย ต่อมาเริ่มรับเอาแนวความคิดแบบฮินดูเข้าไปมาก เช่น แนวความคิดพระโพธิสัตว์ที่เริ่มเน้นแบบเทพเจ้าฮินดู แนวความคิดเกี่ยวกับพระอาทิพุทธะที่เลียนแบบพระพรหม และการถือเอาลัทธิตันตระของฮินดูเข้ามาผสมทำให้ลืมหลักการ ราว พศ.๑๖๐๐ เป็นต้นมาก่อนการรุกรานอินเดียของกองทัพมุสลิม พระสงฆ์บางกลุ่มลืมหลักการเดิมไปมากถึงขนาดมีภรรยา เป็นพ่อมดหมอผีเองเพื่อหาเลี้ยงชีพ และเรียกตนเองว่า สิทธะ ไม่ใช่ภิกษุเหมือนเดิม

๔.พุทธบริษัทไม่สนใจปกป้องศาสนาของตนเอง ในอินเดียโบราณ พุทธบริษัทสมัยหลังมีแนวความคิดว่า ชั่วช่างชี ดีช่างสงฆ์ กล่าวคือ ไมว่าศาสนาและพระสงฆ์จะดีจะเลวก็ช่าง ไม่ใช่ธุระ ไม่ใช่ภาระของตนเองที่จะต้องสนใจ

ต่อมาพระสงฆ์เริ่มห่างเหินจากชาว บ้าน ชาวบ้านก็ห่างเหินวัดไม่ได้สอนบุตรธิดาให้ยึดมั่นในศาสนาที่ตนเองนับถือ โดยถือว่าพุทธศาสนาเป็นเรื่องของพระไม่เกี่ยวกับชาวบ้าน เมื่อกองทหารมุสลิมเข้ามาโจมตี จึงไม่มีใครเข้าช่วยเหลือพระได้เลย เมื่อทหารมุสลิมทำลายพระสงฆ์จนหมด ชาวบ้านก็ลืมพุทธศาสนาได้อย่างง่ายดาย เพราะไม่มีใครแนะนำ ส่วนศาสนาพราหณ์นั้น มีพราหมณ์เป็นแกนนำ ที่แต่งตัวไม่แตกต่างจากชาวบ้านการทำลายจึงทำได้ยาก และมีระบบสอนลูกจากลูกไปสู่หลานตามลำดับ จึงรักษาศาสนาพราหมณ์ (ฮินดู)ใว้ได้

๕.พุทธศาสนามีคำสอนที่ทวนกระแส เพราะเหตุที่คำสอนของพระพุทธศาสนาเป็นคำสอนที่ทวนกระแส คือ ดิ่งสู่ความเป็นจริง เป็นการฝืนใจคนอินเดียในสมัยนั้น แนวคำสอนของพุทธศาสนาเรื่องการไม่สนับสนุนการอ้อนวอนก็ขัดต่อความรู้สึกคน สมัยนั้นที่นิยมการอ้อนวอนบูชาบวงสรวงสิ่งที่ไกลตัว เพื่อหวังลาภสักการะ หวังเป็นที่พึ่ง

แนวคำสอนของพุทธศาสนาดึงคนเข้ามาหาหลักไม่ใช่ดึง หลักเข้ามาหาคน ไม่บัญญัติไปตามความชอบพอของคนบางคน ทำให้ปุถุชนผู้เบาปัญญาเกิดความเบื่อหน่ายและหันไปนับถือศาสนาอื่นได้ นอกจากนั้น หลักคำสอนเกี่ยวกับปฎิเวธ วรรณะของคนชั้นสูงก็ไม่อยากให้มีการล้มเลิกลัทธิประเพณีของเขา บางครั้งคนเหล่านี้ไม่ได้นับถือศาสนาด้วยปัญญา แต่นับถือด้วยการยึดมั่นอยู่กับพิธีกรรมจึงทำให้เป็นการขัดต่อความเชื่อถือ ของเขา


๒.ภัยภายนอก

๑.ขาดผู้อุปถัมภ์ พุทธศาสนาเจริญและดำรงอยู่มาได้ เพราะมีพระมหากษัตริย์ให้ความอุปถัมถ์บำรุงอย่างแข็งขัน เช่น พระเจ้าอโศก พระเจ้ามิลินท์ พระเจ้ากนิษกะ พระเจ้าหรรษวรรธนะ พระเจ้าธรรมปาละ พระเจ้าเทวปาละ เป็นต้น ทำให้พระพุทธศาสนาแผ่กระจายอย่างกว้างขวาง ทั้งในและนอกชมพูทวีป

แต่บางคราวที่กษัตริย์อินเดียนับถือศาสนาอื่น จะทำให้พุทธศาสนาโดยรวมขาดการอุปถัมภ์ พระสงฆ์อยู่ด้วยความลำบาก หรือถูกขัดขวาง เปรียบเหมือนต้นไม้ที่ขาดน้ำและปุ๋ย และพระมหากษัตริย์บางพระองค์ นอกจากไม่คุ้มครองและยังทำลายพุทธศาสนาอย่างย่อยยับ เช่น กษัตริย์ศศางกะ ปุษยมิตร เป็นต้น

๒. เพราะถูกศาสนาฮินดูเบียดเบียน ศาสนาฮินดูได้เป็นคู่แข่งของพุทธศาสนาเริ่มตั้งแต่สมัยพุทธกาลจนกระทั่งสมัย ปัจจุบันนี้เมื่อพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้วพวกพราหมณ์หรือฮินดูก็ได้เริ่ม ประกาศคำสอนของตนเป็นการใหญ่ ส่วนพระสงฆ?ในพุทธศาสนามีแต่การตั้งรับ บางครั้งก็เปิดช่องว่างให้เขาหรือไม่ก็หลอมตัวเข้าหาเขาจึงเท่ากับว่าเรา ทำลายตัวเราเองด้วยและถูกคนอื่นทำลายด้วย ถ้าหากพระสงฆ์และชาวพุทธยังยึดมั่นอยู่ในคำสอนและรักษาความสามัคคีในหมู่คณะ ไว้ได้ดีแล้ว คนอื่นหรือศาสนาอื่นก็ทำอะไรได้ยาก เพราะพุทธศาสนาย่อมได้เปรียบศาสนาอื่นในหลักคำสอนอยู่แล้ว
การทำลายของศาสนาฮินดูมีใช้ทั้งไม้อ่อนและไม้แข็ง ไม้อ่อนคือโจมตีด้วยคำสอน ลอกเลียนแบบคำสอน นำพระพุทธเจ้ามาเป็นอวตาร

ไม้ แข็งคือ ทำลายวัด ยึดวัดพุทธมาเป็นฮินดู วัดส่วนมากกลายเป็นฮินดูเช่น ในอินเดียภาคใต้ พุทธคยา 
ตโปธาราม ราชคฤห์ วาลุการามที่สังคายนาครั้งที่๒ วัดถ้ำที่อินเดียภาคใต้ โบสถ์พระรามที่อโยธยา ก็กลายมาเป็นสมบัติชาวฮินดูไป นอกจากนั้นยังซ้ำเติมยามพลั้งพลาด เช่นพราหมณ์กลุ่มหนึ่งหลังมุสลิมเติร์กกลับจากเผามหาวิทยาลัยนาลันทาแล้ว ก็กลับมาเผาซ้ำอีก

ซากมหาวิทยาลัยนาลันทา แคว้นมคธ
ในสมัยต่อมา นักบวชฮินดู ได้เปลี่ยนแนวการสอนใหม่จากเดิมที่ไม่อยู่หลักแหล่งมาเป็นการตั้งสำนัก จากไม่มีองค์กรคณะสงฆ์ก็ตั้งคณะสงฆ์ จากนักบวชพราหมณ์ที่นุ่งห่มสีขาว กลายมาเป็นแต่งชุดสีเหลืองเหมือนพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา นักบวชที่แต่งชุดเหลืองถูกเรียกว่าสาธุ

แม้พระสงฆ์ไทยเมื่อไปอยู่ที่ อินเดียก็ถูกเรียกว่าสาธุเช่นกัน และคิดเหมาว่าเป็นฮินดูทั้งหมด เมื่อฮินดูปฏิรูปการนุ่งห่มทำให้ความแตกต่างลดน้อยลง และการกลืนก็เป็นไปโดยง่ายขึ้น

๓. ถูกมุสลิมทำลาย เมื่อสมัยที่มุสลิมเข้ามามีอำนาจในอินเดียกษัตริย์มุสลิมได้แผ่อำนาจไปใน ส่วนต่างๆของอินเดียราว พศ.๑๗๐๐ กองทัพมุสลิมได้ทำลายวัดวาอาราม รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ฆ่าฟันพระสงฆ์อย่างมากมายจน

พระสงฆ์และชาวพุทธ ต้องหนีกันออกนอกประเทศอินเดียเข้าไปอาศัยในเนปาล สิกขิม ธิเบต ต่อมาเมื่อมุสลิมยึดอินเดียได้อย่างเด็ดขาด อิทธิพลของศาสนาอิสลามก็ได้ผ่ตามไปด้วย เป็นเหตุให้พุทธศาสนาพลอยได้รับผลกระทบกระเทือนอย่างหนักจนสูญหายไปในที่สุด หลายฝ่ายเชื่อว่าถ้าไม่ถูกมุสลิมถอนรากถอนโคน พุทธศาสนา วัดวาอารามก็คงเหลืออยู่เต็มอินเดีย เฉพาะรัฐพิหารรัฐเดียวก็มีวัดเป็นหมื่นวัดจนกลายมาเป็นชื่อรัฐในปัจจุบัน

รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย
พุทธ ศาสนาก็คงอยู่ได้แต่อาจจะลดจำนวนลงบ้าง และอาจจะปฏิรูปเข้ากับศาสนาฮินดูบ้าง การมาของมุสลิมเหมือนกับพายุกระหน่ำต้นไทรที่ผุข้างในบ้างแล้ว ให้ล้มลงในที่สุด


เศษซากที่เหลือจากการถูกทำลายของมหาวิทยาลัยนาลันทาอันเคยรุ่งเรื่องในสมัยก่อน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น