จาง เทียนหรัน | |
---|---|
จู่ซือลัทธิอนุตตรธรรม | |
เชื้อชาติ | ชาวฮั่น |
สมัย | สาธารณรัฐ |
เกิด | 8 สิงหาคม ค.ศ. 1889 จี่หนิง มณฑลซานตง ประเทศจีน |
เสียชีวิต | 29 กันยายน ค.ศ. 1947 (58 ปี) เฉิงตู มณฑลเสฉวน |
บิดา | จาง อฺวี้สี่ |
มารดา | นางเฉียว |
คู่สมรส | นางจู นางหลิว และนางซุน ฮุ่ยหมิง |
จาง เทียนหรัน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จาง เทียนหรัน (จีน: 張天然) เป็นจู่ซือรุ่นที่ 18 ซึ่งเป็นรุ่นสุดท้ายของลัทธิอนุตตรธรรม ผู้ปฏิรูปโครงสร้างองค์กรและ
ประวัติ[แก้]
จาง เทียนหรัน มีนามเดิมว่า จาง ขุยเซิง เกิดวันที่ 8 สิงหาคม ค.ศ. 1889 ที่เมืองจี่หนิง มณฑลซานตง ประเทศจีน
สมัยราชวงศ์ชิง เมื่ออายุได้ 19 ปี เขาได้แต่งงานกับสตรีแซ่จู มีธิดาด้วยกัน 1 คน นางจูเสียชีวิตในปีต่อมา
จางจึงแต่งงานใหม่กับสตรีแซ่หลิว และมีบุตรด้วยกัน 1 คน ชื่อจาง อิงอวี้ เมื่ออายุได้ 22 ปี จาง ชุยเซิงได้เข้ารับราชการ
เป็นทหารที่เมืองหนานจิงและเซี่ยงไฮ้เป็นเวลาหลายปี จนเมื่อทราบข่าวว่าบิดาล้มป่วยจึงลาออกจากกองทัพ เพื่อกลับ
มาดูแลกิจการของครอบครัว[2]
ในปี ค.ศ. 1915 จางได้พบอาจารย์เกิ่ง ศิษย์อาจารย์ลู่ จงอี จู่ซือของลัทธิอนุตตรธรรม ด้วยความเลื่อมใส
จึงได้ฝากตัวเป็นศิษย์ ได้รับนามทางธรรมว่าเทียนหรัน และติดตามช่วยเหลืออาจารย์เกิ่งเผยแผ่ลัทธิ
เมื่ออาจารย์เกิ่งเสียชีวิตในปี ค.ศ.1920 จางจึงย้ายไปติดตามรับใช้อาจารย์ลู่แทน จางเผยแผ่
ลัทธิอนุตตรธรรมจนแพร่หลาย และกลายเป็น 1 ใน 7 ศิษย์อาวุโสของอาจารย์ลู่ในเวลาต่อมา
เมื่ออาจารย์ลู่ถึงแก่กรรมในปี ค.ศ. 1925 ได้เกิดความแตกแยกขึ้นภายในลัทธิเพราะศิษย์อาวุโสแต่ละคน
ต่างตั้งตนเป็นใหญ่เป็นอิสระต่อกัน ต่อมาลู่ จงเจี๋ย น้องสาวของอาจารย์ลู่อ้างว่าพระแม่องค์ธรรมได้มา
ประทับทรงประทานอาณัติสวรรค์แต่งตั้งให้ตนเป็นผู้รักษาการจู่ซือไป 12 ปี แต่มีเพียงจางคนเดียวที่ยอมรับ
หลังจากรักษาการได้ 6 ปี ถึงปี ค.ศ. 1930 จงเจี๋ยจึงประกาศว่าพระแม่องค์ธรรมให้ จาง ขุยเซิงและซุน ซู่เจิน
รับสืบทอดอาณัติสวรรค์พร้อมกันในฐานะสามีภรรยา ร่วมกันปกครองสำนักต่อในฐานะจู่ซือรุ่นที่ 18 โดยขุยเซิง
ได้นามใหม่ว่า กงฉัง และซู่เจินได้นามใหม่ว่า จื่อซี่[2] แต่กงฉังยังคงเป็นผู้นำหลักของลัทธิ เขาอ้างว่า
ในช่วงแรก แต่เธอก็ได้รับยกย่องจากกงฉังว่าเป็นพระภาคของพระจันทรปัญญาโพธิสัตว์ (จีน: 月慧菩薩)
เป็นเหล่าเฉียนเหริน (จีน: 老前人) สาวกชั้นรองลงไปมีเฉียนเหริน (จีน: 前人) เตี่ยนฉวนซือ (จีน: 點傳師)
เจี่ยงซือ และถันจู่ (จีน: 壇主) ตามลำดับ ...ในด้านพิธีกรรมนอกจากการอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประทับทรงประทาน
โอวาทที่กระบะทรายแล้ว ได้เริ่มใช้เด็กอายุ 12 ปีมาฝึกฝนเพื่อทำหน้าที่เป็นคนทรงโดยเฉพาะเรียกว่า "ร่างสามคุณ"
ประเทศแมนจู (รัฐหุ่นเชิดของจักรวรรดิญี่ปุ่น) เจ้าหน้าที่รัฐหลายคนเข้าเป็นสมาชิกของลัทธิ และสนับสนุนลัทธิ
จนแพร่หลายอย่างมากในพื้นที่ที่ญี่ปุ่นยึดครอง[4] ลัทธิอนุตตรธรรมเชื่อว่าสงครามครั้งนี้จะเป็นความยากลำบาก
ครั้งสุดท้าย และญี่ปุ่นจะเป็นผู้นำสันติภาพมาสู่โลก[3] เมื่อแมนจูเรียถูกจีนยึดกลับคืนมาได้ในปี ค.ศ. 1945
ทั้งรัฐบาลพรรคก๊กมินตั๋งและพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนจึงดำเนินการปราบปรามลัทธิอนุตตรธรรมอย่างหนัก
โทษฐานที่เข้าสนับสนุนการปกครองของญี่ปุ่น
ผลจากการปราบปรามลัทธิ ทำให้จาง เทียนหรัน เริ่มมีสุขภาพย่ำแย่ลง จนถึงแก่กรรมวันที่ 29 กันยายน ค.ศ. 1947
เวลาประมาณ 20:00 น. ในระหว่างเยือนเมืองเฉิงตู มณฑลเสฉวน หลังจากเสียชีวิตได้ 5 วัน ซุน ฮุ่ยหมิง
ได้เชิญวิญญาณของจางมาเข้าทรง จึงทราบว่าเขาต้องการให้ฟังศพที่เชิงเขาหนันผิง เมืองหางโจว มณฑลเจ้อเจียง
สาวกของเขาจึงประกอบพิธีฝังตามนั้นใน 1 เดือนให้หลัง
ต่อมาพระแม่องค์ธรรมได้ประทับทรงประกาศว่าจาง เทียนหรัน ได้รับอริยฐานะเป็นเทียนหรันกู่ฝอ (จีน: 天然古佛)[2]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ 1.01.1 "A Study of the Yiguan Dao (Unity Sect) and its Development in the Penensular Malaysia". The University of British Columbia. 1997. สืบค้นเมื่อ 25 March 2014.
- ↑ 2.02.1 2.2 ศุภนิมิต, พระพุทธบรรพจารย์เทียนหยาน, กรุงเทพฯ : ส่งเสริมคุณภาพชีวิต, ม.ป.ป.
- ↑ 3.03.1 Religion and Democracy in Taiwan, pg. 67-9
- ↑ Edward L. Davis, Yiguan Dao, Encyclopedia of contemporary Chinese culture, Routledge
ขอบคุณข้อมูลทั้งหมดจาก
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%87_%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%99
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น
หมายเหตุ: มีเพียงสมาชิกของบล็อกนี้เท่านั้นที่สามารถแสดงความคิดเห็น